Love of Siam ฉายที่ประเทศญี่ปุ่น

พูดถึงเทศกาลภาพยนตร์ในญี่ปุ่นแล้ว เมื่อปี 2009 ได้มีโอกาสชมภาพยนตร์ไทยถึง 2 เรื่อง ที่มาเปิดตัวในงานเทศกาลภาพยนตร์โอซาก้าที่ประเทศญี่ปุ่น นั่นคือ เรื่อง "รักแห่งสยาม" และ "CHOCOLATE FIGHTER" พร้อมผู้กำกับภาพยนตร์ทั้ง 2 เรื่อง
ได้มาสนทนาพูดคุยกันในรอบที่จัดฉาย ภาพโปสเตอร์งานถูกโฆษณาตามสถานีรถไฟฟ้า สื่อทีวี วิทยุในเครือสถานีโทรทัศน์ ABC และเป็นธรรมเนียมที่อาจมีการจำหน่ายในรูป DVD หรือออกฉายในโรงภาพยนตร์ญี่ปุ่นหลังเปิดตัวในงานเทศกาลภาพยนตร์แล้ว



ภาพยนตร์ "รักแห่งสยาม" ได้เลือกงานเทศกาลภาพยนตร์ที่ฟุกุโอกะเป็นงานแรก แต่หลังเปิดตัวแล้วยังไม่มีกระแสความนิยมนักที่ญี่ปุ่น และงานเทศกาลที่โอซาก้าจึงเป็นอีกบทพิสูจน์ความสำเร็จโดยเปิดตัวเป็นครั้งที่ 2 ในประเทศญี่ปุ่น แนวทางการเปิดตัวในงานเทศกาลด้วยธีมภาพยนตร์แนวรักวัยรุ่น แต่ไม่เผยรายละเอียดนัก พร้อมเวลาฉายถึง 3 ชั่วโมงกว่าๆ!!

ภาพยนตร์ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "Miu no Uta" (ミウの歌:เพลงของมิว) เพราะคนญี่ปุ่นทั่วไปอาจไม่รู้จัก "สยามสแควร์" ชื่อหนังยังคล้องจองกับชื่อภาษาญี่ปุ่นของหนังไทยก่อนหน้า  風の前奏曲 (โหมโรง) ที่ได้กระแสตอบรับดี มีโอกาสฉายทางโทรทัศน์ช่อง NHK เผยแพร่ทั่วประเทศด้วย

ระหว่างการจัดฉาย มีผู้ชมสูงอายุ (50s) ประมาณ 30% เมื่อเรื่องดำเนินมาถึงตอนกลางของเรื่อง บางท่านจะอึ้งไปนิดนึง แต่ในญี่ปุ่นก็จะมีเว็บบล็อคข่าวสารส่งถึงกลุ่มเกย์ ระหว่างเข้าแถวรอชมก็ได้ยินว่าพวกเขาทราบเนื้อหาคร่าวๆ จากบล็อคแล้วมาชมกันก็มีไม่น้อย บางคนมาจากนาโกย่าเพื่อมาชมโดยเฉพาะเลยก็มี


ด้วยภาพยนตร์มีเนื้อหาที่ชัดเจนมาก (ความรักชาย-ชาย)  และความยาวระดับเดียวกับที่ฉายในไทย 3 ชั่วโมงเก็บทุกดีเทล (ซึ่งไม่ได้ edit สำหรับตลาดญี่ปุ่น) และไม่มุ่งขายตรงไปที่กลุ่มเกย์ญี่ปุ่น แต่เลือกนำเสนอภาพความสดใสของเด็กวัยรุ่น 4 คนชายหญิง พร้อมจะ "บอกความในใจไปกับเสียงเพลง" (จากภาพโปสเตอร์ และคำโปรยในบิลบอร์ด)


บริษัทญี่ปุ่นที่ได้รับสิทธิ์จัดจำหน่ายพยายามดันด้วยบล็อค มุ่งจำหน่าย DVD เป็นหลัก ไม่สร้างตลาดระยะยาวกับคนดู หรือเปิดพื้นที่ให้ interact อัพเดทข่าวสารใหม่ๆ ของนักแสดง และผลงานผู้กำกับเรื่องอื่นๆ เพื่อต่อยอดนำเสนอ Product ถัดไปให้ได้ติดตามชมกัน และด้วยจุดอ่อน 2 ประการข้างต้น ในสังคมญี่ปุ่นที่ยังไม่พร้อมเปิดรับเพศที่ 3 ฐานคนดูย่อมแคบแน่นอน Marketing จึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากเจาะกลุ่ม Niche ตามหนังแนวเดียวกันอย่าง Milk หรือหนังของญี่ปุ่นเองอย่าง Boys Love ที่เลือกทำตลาดร่วมกับสถานบันเทิงของกลุ่มเฉพาะ (ชาย) กลุ่มคนอ่านการ์ตูนแนว Boy Love (หญิง) ไปพร้อมๆ กับการโปรโมททางสื่อทั่วไป และเว็บบล็อคยอดฮิตต่างๆ (New Target & Thailand  Lover)

หนังเรื่องนี้มีจุดขายที่เพลงประกอบมากมาย แต่เหมือนมีกำแพงทางภาษากั้นขวางไปไม่ถึงหูคนทั่วไป รวมทั้งย่านวัยรุ่นอย่าง America-Mura ของโอซาก้าเองก็มีความร่วมสมัย มีโลเกชั่นไม่ต่างกับช้อปปิ้งสตรีทของไต้หวัน ที่ให้กลิ่นอายเช่นเดียวกับสยามสแควร์ทีเดียว ก็เป็นข้อดีที่พลาดโอกาสนั้นไปอย่างน่าเสียดาย

จากเดิมภาพยนตร์มีกำหนดจำหน่ายตามร้านค้าทั่วไป และศูนย์เช่าวีดีโอ ได้เปลี่ยนมาจำหน่าย โดยการสั่งจองเป็นชุดแล้วส่งทางไปรษณีย์ http://www.loveofsiam.jp/news.html

ขอบคุณที่ติดตามอ่านนะครับ หากมีความคืบหน้าหนัง-เพลงไทยในญี่ปุ่นใดๆ จะกลับมาบอกเล่ากันนะครับ

No comments

Post a Comment

©2024 inStyle Asia All Rights Reserved.
Designed by Creatopia Space