ตามรอยขนมญี่ปุ่นโบราณในเกียวโต


ขนมญี่ปุ่นแบบโบราณ หรือ "วากาชิ" (Wagashi) มีประวัติความเป็นมายาวนาน คู่กันกับตำนานการกำเนิดชาเขียวที่รับมาจากประเทศจีนเมื่อพันกว่าปีก็ว่าได้ จากการอ่านค้นคว้า ทำให้ทราบความหมายแฝงของคำว่า "วา (Wa)" เป็นชื่อเรียกประเทศญี่ปุ่น และวัฒนธรรมญี่ปุ่นช่วงที่รับวัฒนธรรมจีนในสมัยราชวงศ์ถัง เรียกว่า "วาโคคุ" (Wakoku หรือดินแดนของชาววา) แต่คงเป็นเรื่องทำใจได้ยากหากกล่าวว่าวัฒนธรรมญี่ปุ่นรับมาจากจีน(เช่นเดียวกับวัฒนธรรมไทยที่รับมาจากอินเดีย-เขมร) คำว่า "วา" ในปัจจุบันจึงหมายถึงวัฒนธรรมแบบญี่ปุ่นโบราณ (ที่พัฒนาต่อยอดจากจีน)



จากภาพวาดสมัยโบราณ ทำให้เห็นว่าประเทศญี่ปุ่นมีพัฒนาการประดิษฐ์ขนมมาช้านานหลายร้อยปี วางขายตามร้านค้า มีพ่อค้าหาบเร่ คิดค้นสูตรการทำขนมในสมัยเอโดะ (Edo) เกิดร้านขนมหวานเฉพาะอย่าง รวมทั้งขนมหวานนานาชนิดจากต่างประเทศที่เริ่มเข้ามาในช่วงศตวรรษที่ 17 โดยมิชชันนารี และพ่อค้าชาวฮอลันดา ได้รับความนิยมแพร่หลายไปจนถึงชนชั้นสูง เช่น ขุนศึกโอดะ โนบุนากะ (Oda Nobunaga) ผู้รวมแผ่นดินญี่ปุ่นโปรดปรานน้ำตาลก้อนหลากสีแบบฝรั่ง ที่มีขื่อว่า Konpeito จากมิชชันนารี่ชาวฮอลันดา กลายเป็นหนึ่งในขนมญี่ปุ่นโบราณที่ยังคงผลิตมาจนถึงปัจจุบัน และต่อยอดมาเป็นลูกอมสารพัดยี่ห้อในปัจจุบัน การทำขนมญี่ปุ่น และธรรมเนียมการทานขนมพื้นเมืองในช่วงเทศกาลยังคงสืบทอด และพัฒนารูปแบบใหม่อยู่ตลอดเวลา



หลังจากทานวาราบิโมจิ (Warabi mochi) แล้วตามด้วยมัทฉะชาเขียวร้อนๆ จากเมืองอูจิ (Uji) ทั่เกียวโต แล้วมองไปยังผู้คนบนท้องถนน ทำให้นึกถึงขนมไทยโบราณ ซึ่งมีประวัติความเป็นมา และความสวยงามเหมือนกัน


ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเกียวโตปัจจุบัน ขนมโบราณเริ่มสูญความนิยม เป็นหนึ่งในความวิตก บ้างก็ประยุกต์กับขนมฝรั่ง บ้างก็ดัดแปลงให้เข้ากับยุคสมัย เป็นเรื่องน่าสนใจหากขนมโบราณสามารถประยุกต์เป็นของทานเล่น เข้ากับวิถีชีวิตประจำวัน

ติดตามข่าวสารข้อมูลล่าสุดได้ที่อินสตาแกรม InStyleAsia

Text/Photo โดย Teeper

No comments

Post a Comment

©2024 inStyle Asia All Rights Reserved.
Designed by Creatopia Space