สุดยอดผู้แต่งกายดีเด่นประจำปี งานจิวเวลรี่แฟร์ โตเกียว I Best Dresser Award (32nd International Jewellery Tokyo)

ริวเซ โยโกฮาม่า ขึ้นรับรางวัลผู้แต่งกายดีเด่นประจำปีงานจิวเวลรี่แฟร์ที่โตเกียว I Ryusei Yokohama on the stage (photo: InStyle Asia)

Upclose to his and her look from the Best Dresser Award winners in the 32nd International Jewellery Tokyo  (IJT) at Tokyo Big Sight this year. See what jewelry make them look stunned and inspire to people nationwide. IJT is the largest jewelry fair in Japan, offers the best price by domestic and international Jewelry traders and it's a great opportunity to update the creative and innovative global trend by business  key persons twice a year (Spring and Autumn).

(1) Nana Mori (19) represents the 10s jewelry wearers - She stunned in a white lace black dress with "Nana tsuboshi (七つ星)" ※ K18YG diamonds 1ct pendant necklace.

※ If you look her pendant closely, there are 7 diamonds - that means "Nana tsuboshi" (nana = 7/tsuboshi = stars" and Nana is also her name), transformed them by pushed in one touch.

(2) Yuko Araki (27) represents the 20s jewelry wearers - She wears necklace and gold K18YG moon shaped diamonds and pearl pendent.

(3) Erika Toda (32) represents the 30s jewelry wearers - She wears agoya pearls necklace and bracelet set.

(4) Eiko Koike (40) represents the 40s jewelry wearers - She wears platinum diamonds pendant necklace necklaceiamonds 0.32ct/ HC 0.43ct pendant necklace)

(5) Yuki Saitoh (54) represents the 50s jewelry wearers - She wears red coral platinum ring (Pt900) and red coral platinum pendant necklace (Pt850)

(6) Misako Tanaka (61) represents the 60s jewelry wearers

(7) Ryusei Yokohama (24)  represents male jewelry wearers - He wears Dior suit with seagull motif K18WG sakura diamonds pin brooch.

(8) Atsuto Uchida (32) former national soccer player, special prize - He wears purple gold diamonds bracelet and football-shaped pin brooch (platinum PT850 K18 Purple Gold Diamonds 0.12 ct bracelet)

ท่ามกลางความหวั่นวิตกเรื่องโควิดที่ดูเหมือนจะรุนแรงขึ้นในช่วงฤดูหนาวทั่วโลก รวมทั้งที่ญี่ปุ่น แม้ว่าโตเกียวจะอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินระหว่างเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ แต่งานใหญ่ๆ หลายงานยังคงดำเนินต่อไปท่ามกลางมาตรการเว้นระยะห่างอันเข้มงวด

อะสึโตะ อุจิดะ (Atsuto Uchida) นักฟุตบอลทีมชาติ รางวัลพิเศษ อายุ 32 ปี (ชาย) I Atsuto Uchida received the Special prize (Photo: InStyle Asia)

บางคนอาจไม่ทราบว่าประเทศญี่ปุ่นก็มีงานจิวเวลรี่ใหญ่ระดับประเทศ จัดขึ้นที่ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ Tokyo Big Sight เป็นประจำปีละ 2 ครั้ง (เดือนมกราคมประจำฤดูใบไม้ผลิ และอีกครั้งในฤดููใบไม้ร่วง) รวมผู้ค้าทั้งจากในประเทศญี่ปุ่น และประเทศเพื่อนบ้าน อย่างจีนและอินเดียที่ขนเครื่องประดับทำจากหินสี (รวมทั้งหินสีที่ได้จากแหล่งผลิตในไทย พม่า ศรีลังกา อย่างทับทิม พลอยสี มรกต หยก) สินค้าไฮไลท์คงเป็นหินสีจากประเทศเพื่อนบ้าน และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่่บริษัทญี่ปุ่นต่างคิดค้นเพื่อนำมาใช้เป็นทางเลือกในแวดวงแปรรูปอัญมณีนั่นเอง 

เอริกะ โทดะ (Erika Toda) อายุ 32 ปี ตัวแทนหญิงสาวช่วงอายุ 30 ปี I Erika Toda during the award ceremony (Photo: InStyle Asia)

ในงานผู้ค้าจะวางจำหน่ายเครื่องประดับของตนในราคาทุน หรือต่ำกว่าทุนพร้อมกับแนะนำร้านค้าหรือแบรนด์ไปในตัว ให้ผู้สนใจได้ร่วมเจรจาเป็นพันธมิตรหรือซื้อขายกันใครั้งต่อไป เช่นเดียวกับงานบางกอกเจมส์แอนด์จิวเวลรี่ที่บ้านเรา หรือฮ่องกงจิวเวลรี่แฟร์นั่นเอง

 ยูโกะ อารากิ (Yuko Araki) อายุ 27 ปี ตัวแทนหญิงสาวช่วงอายุ 20 ปี I Yuko Araki make her speech and shated the feeling after received the prize. (Photo: InStyle Asia)

อย่างไรก็ตามเรามีภาพสวยๆ และข่าวสารจากงานจิวเวลรี่แฟร์ที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น หรือ International Jewelry Tokyo (IJT) 2021 ที่โตเกียวมาฝากกัน เป็นประจำทุกปีที่จะมีการประกาศรางวัลผ้สวมจิวเวลรี่ได้โดดเด่นที่สุดประจำปี ปีนี้ก็เช่นเดียวกัน มอบรางวัลโดย แบ่งตามช่วงอายุ (Japan Best Dresser Awards รางวัลตัวแทนผู้สวมใส่เครื่องประดับจิวเวลรี่ระหว่างอายุ 10- 50 ปี) ทั้งหญิงและชาย โดยผู้ได้รับรางวัลประจำปีนี้ล้วนเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงทั้งวงการบันเทิงและกีฬา ได้แก่

(1) นานะ โมริ (Nana Mori) อายุ 19 ปี ตัวแทนเด็กสาววัยทีน อายุ 10 - 19 ปี
(2) ยูโกะ อารากิ (Yuko Araki) อายุ 27 ปี ตัวแทนหญิงสาวช่วงอายุ 20 ปี
(3) เอริกะ โทดะ (Erika Toda) อายุ 32 ปี ตัวแทนหญิงสาวช่วงอายุ 30 ปี
(4) เออิโคะ โคอิเคะ (Eiko Koike) อายุ 40 ปี ตัวแทนหญิงสาวช่วงอายุ 40 ปี
(5) ยูกิ ไซโตะ (Yuki Saitoh) อายุ 54 ปี ตัวแทนผู้หญิงช่วงอายุ 50 ปี
(6) มิซาโกะ ทานากะ (Misako Tanaka) อายุ 61 ปี ตัวแทนผู้หญิงช่วงอายุ 60 ปี
(7) ริวเซ โยโกฮาม่า (Ryusei Yokohama) อายุ 24 ปี  ตัวแทนผู้สวมใส่จิวเวลรี่ผู้ชาย
(8) อะสึโตะ อุจิดะ (Atsuto Uchida) นักฟุตบอลทีมชาติ รางวัลพิเศษ อายุ 32 ปี (ชาย)

ริวเซ โยโกฮาม่าระหว่างพิธีมอบรางวัล Japan Best Dresser Award ครั้งที่ 32 I Ryusei Yokohama after received the prize (Photo: InStyle Asia)

นานะ โมริ (Nana Mori) อายุ 19 ปี ตัวแทนเด็กสาววัยทีน อายุ 10 - 19 ปี I Nana Mori on the stage (Photo: InStyle Asia)

ยูกิ ไซโตะ (Yuki Saitoh) อายุ 54 ปี ตัวแทนผู้หญิงช่วงอายุ 50 ปี I Yuki Saitoh stunned in the award ceremony. (Photo: InStyle Asia)

นานา โมริ (Nana Mori) ตัวแทนหญิงสาวช่วงอายุไม่เกิน 20 ปี I Nana Mori after received the prize. (Photo: InStyle Asia)

 มิซาโกะ ทานากะ ตัวแทนผู้หญิงช่วงอายุ 60 ปี | Misako Tanaka after received the prize (Photo: InStyle Asia)

อะสึโตะ อุจิดะ นักฟุตบอลทีมชาติ รางวัลพิเศษ อายุ 32 ปี (ชาย) | Atsuto Uchida, former national football player received the special prize (Image: InStyle Asia)

Erika Toda (32) represents the 30s jewelry wearers | เอริกะ โทดะ (32) ตัวแทนผู้สวมจิวเวลรี่วัย 30-40 ปีในงานโตเกียวจิวเวลรี่แฟร์ 2021 ที่โตเกียว (Photo: InStyle Asia)

ลองไล่เรียงดาราที่ชื่นชอบแล้วตามไปชมภาพสวยๆ ทางอินสตาแกรมของเรากัน อย่าพลาดติดตามข่าวสารบันเทิง ไลฟ์สไตล์ และการท่องเที่ยวจากญี่ปุ่นทางอินสตาแกรม InStyleAsia กัน

ติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุด อ่านบทความเพิ่มเติมได้ทางอินสตาแกรม InStyle Asia 



สัมภาษณ์พิเศษผู้กำกับฯชาวสิงคโปร์จากภาพยนตร์เรื่อง Light of a Burning Moth

ธีรภัทร์ เพิ่มประยูร ผู้สัมภาษณ์

สัมภาษณ์สุดเอ็กซ์คลูซีฟกับผู้กำกับเหลียว เจียไค ชาวสิงคโปร์ จากภาพยนตร์ญี่ปุ่นเรื่อง "Light of a Burning Moth"


"... ผมรู้สึกว่าศิลปินอาวุโสทุกท่านล้วนมีภูมิปัญญาและสั่งสมประสบการณ์ยาวนานกว่าศิลปินคนรุ่นใหม่ แต่คนทั้งสองรุ่นมีสิ่งต่างๆ อีกมากมายที่ต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกัน..."

ผู้กำกับเหลียว เจียไค หลังให้สัมภาษณ์กับเรา ในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว ปี 2020 (ภาพ: InStyle Asia)


















ภาพยนตร์เรื่อง "Light of a Burning Moth" (蛾の光) เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่เปิดตัวฉายรอบปฐมทัศน์ในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาขาติโตเกียว ปี 2020 ต้องขอบคุณคณะกรรมการผู้จัดงาน ให้เราได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษแบบส่วนตัวกับคุณเหลียว เจียไค ผู้กำกับฯ ชาวสิงคโปร์ จากผลงานเรื่องล่าสุด  Light of a Burning Moth เรื่องราวการต่อสู้ดิ้นรนของศิลปินรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ ผ่านการแสดงออกด้วยศิลปะการแสดง และจิตวิญญาณที่ซ่อนอยู่ในตัวศิลปิน ผู้กำกับสร้างหนังเรื่องนี้ในขณะที่เขายังเป็นนักศึกษาปริญญาโทคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว และยังเป็นผลงานภาพยนตร์ญี่ปุ่นเรื่องแรกของเขาในฐานะผู้กำกับหนังด้วย

Light of a Burning Moth ว่าด้วยเรื่องราวของศิลปินนักเต้นสาวที่ไม่ยอมพูดจากับใครเลยหลังจากสูญเสียมารดาไป แต่เธอเลือกสื่อสารด้วยการร่ายรำ ภาษาการแสดงกับศิลปินละครใบ้วัยชราคนหนึ่ง

InStyle Asia: ก่อนอื่น อยากทราบแรงบันดาลใจที่คิดทำหนังเรื่องนี้ครับ?

เหลียว เจียไค: จริงๆ แล้ว ผมเริ่มต้นคิดทำหนังเรื่องนี้กับ คุณ "ฮา ยังมี" (Ha Young-mi) นักแสดงสาวในเรื่อง คุณจำได้ไหมหญิงสาวนักเต้นรำที่ปรากฏในช่วงครึ่งแรกของหนัง เธอกับผมรู้จักกันมาก่อนครับ ผมพบเธอราวๆ 3-4 ปีก่อนที่ฮ่องกง รวมทั้งทริปท่องเที่ยว เราตัดสินใจกันว่าจะทำหนังด้วยกันสักเรื่อง เนื่องจากผมทำงานภาพยนตร์แนวเต้นรำกับทีมงานจากสิงคโปร์ ยุโรป ฮ่องกงด้วย ทำให้ "ฮา ยังมี" กับผมอยากทำหนังเรื่องหนึ่งที่มีการเต้นรำเป็นธีมหลักของเรื่องครับ ผมสนใจภาพยนตร์ที่นำเสนอโลกของเหล่าศิลปินมากๆ ครับ ผมรู้สึกได้เวลา "ฮา ยังมี" มองไปที่พวกเขา และเวลาที่พวกเขามองดูเธอร่ายรำในฐานะศิลปินนักแสดงที่มีความสามารถอันโดดเด่น ผมเลยอยากทำหนังเกี่ยวกับศิลปินท่านนี้ครับ 

ในขณะเดียวกัน ผมยังได้แรงบันดาลใจจากงานวรรณกรรมของเยอรมัน เรื่อง Letter to the Young Poet ของ Rainer Maria Rilke ที่เล่าเรื่องราวของกวีคนหนึ่งนามว่า "ริวเก" และกวีรุ่นเยาว์ที่ชื่นชมผลงานของเขา เฝ้ามอง "ริวเก" และตอบโต้สื่อสารกันด้วยข้อความตัวอักษร ผมสนใจประเด็นนี้ครับ ประเด็นที่ว่าด้วยการสื่อสารของศิลปินสองคนผ่านบทกลอน แต่ สำหรับในหนังของผม การเต้นรำก็สามารถถ่ายทอดแนวทางของศิลปินได้ เราสามารถมองเห็นจิตวิญญาณของศิลปินที่ซ่อนอยู่ข้างใน 


©2020 Tokyo University of the Arts, Graduate School of Film and New Media

InStyle AsIa: ขอบคุณครับ คุณรู้จักนักแสดงมาก่อนทำหนังใช่ไหมครับ?

Liao Jiekai: สำหรับศิลปินของผม คุณอาราอิ ฮัน (Arai Han) หลังจากผมดูสคริปต์บทหนังแล้ว ผมตัดสินใจเลือกเขาเลยครับ

InStyle Asia: ขอบคุณครับ เอ่ยถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ อดทำให้เรานึกถึงหนังเอเชียขึ้นหิ้งที่มีประเด็นทางวัฒนธรรมคล้ายคลึงกันอย่าง Goodbye, Dragon Inn (2003) ของผู้กำกับฯ ชาวไต้หวัน คุณไซ่หมิงเลี่ยง หรือภาพยนตร์รางวัลระดับโลกอย่าง Farewell to my concubine (1993) ของผู้กำกับฯ ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ คุณเฉินไค่เก๋อ ที่ต่างบอกเล่าวัฒนธรรมแบบเก่าที่กำลังสูญหายไปพร้อมกับคนรุ่นเก่า และการเปลี่ยนแปลงของผู้คนในสังคม อย่างในภาพยนตร์เรื่องนี้ก็มี "มิสเตอร์คาวาตะเสะ" ศิลปินละครใบ้วัยชรา (แสดงโดยอาราอิ ฮัน) เขากำลังจากโลกนี้ไปพร้อมกับความสามารถอันน่าทึ่งของเขา แต่ในขณะเดียวกัน ศิลปินสาวรุ่นเยาว์ยังคงร่ายรำในแบบของเธอ ตัดสินใจด้วยตัวเองที่จะไม่พูดกับใครในชีวิต คุณต้องการจะบอกอะไรเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่หรือครับ?

Liao Jiekai: พูดถึงการตอบโต้กันระหว่างศิลปินรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ ผมรู้สึกว่าศิลปินอาวุโสทุกท่านล้วนมีภูมิปัญญา และสั่งสมประสบการณ์ยาวนานกว่าศิลปินรุ่นใหม่ แต่คนทั้งสองรุ่นมีสิ่งต่างๆ อีกมากมายที่ต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ผมทำหนังเกี่ยวกับการเต้นรำเรื่องนี้โดยอิงจากงานวรรณกรรมที่มีชื่อเสียงเล่มหนึ่ง นักแสดงนึกถึงการแสดงการเต้นรำของเธอตอนยังเป็นสาวเมื่อ 30-40 ปีก่อน มันฟังดูน่าสนใจนะ เพราะการเต้นรำสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเธอได้ ทั้งๆ ที่มันเป็นการแสดงชุดเดียวกันในขณะที่เธอมีอายุ 20-30 ปี เธอแสดงด้วยความรู้สึกเข้าถึงบางสิ่ง แต่พอเธอได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ บางอย่าง เธอก็จะรู้สึกเข้าถึงอีกสิ่งหนึ่ง การเต้นรำก็เหมือนกับสิ่งมีชีวิต เมื่อคุณล่วงเข้าวัยชรากลายเป็นศิลปินอาวุโส ชีวิตของคุณก็เปลี่ยนแปลงมากยิ่งขึ้น แปรเปลี่ยนไปตามแนวทางที่คุณแสดงออกมา ผมคิดว่าสิ่งน่าสนใจที่ผมได้ค้นพบจากการทำหนังเรื่องนี้ คือ การนำเสนอภาพของศิลปินผู้นึ้นั่นเองครับ

นักแสดงนำ คุณอาราอิ ฮัน และอักโกะ ทาดาโนะ  Arai Han and Akko Tadano ภาพ: InStyle Asia)

InStyle Asia: อะไรคือแนวคิดเบื้องหลังการถ่ายทำเรื่องราวฉากชายหาดที่โอเสะ ที่เต็มไปด้วยคนตายมากมาย?

Liao Jiekai: ผมต้องการเล่าถึงความสัมพันธ์ที่ชวนให้ผู้ชมรู้สึกอยากรู้อยากเห็น จากความรู้สึกกลัว มันสามารถแปรเปลี่ยนเป็นอะไรบางสิ่งที่ดูน่าค้นหา หรือบางอย่างที่กระตุ้นต่อมความอยากรู้มากยิ่งๆ ขึ้น หากคุณจำได้ ในหนังมีฉากความฝันที่ชายหาดด้วย ศิลปินเห็นเรือที่เต็มไปด้วยร่างคนมากมายก่ายกอง สิ่งเหล่านี้ล้วนเชื่อมโยงกับโลกแห่งความตายครับ

©2020 Tkyo University of the Arts, Graduate School of Film and New Media

InStyle Asia: ทำไมคุณถึงเลือกใช้การแสดงละครแนวนี้ (ละครใบ้)?

Liao Jiekai: ผมคิดว่าการแสดงเลือกผมนะ เมื่อ 3-4 ปีก่อน ตอนที่ผมเริ่มทำหนังเต้นรำ มันเป็นครั้งแรกที่ผมได้รับเชิญให้เข้าร่วมเวิร์คช็อปเต้นรำ
พวกเราทำงานด้วยกันกับนักเต้นที่เวิร์กช้อปแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่ฮานอย เวียดนามครับ ตอนนั้น ผมไม่รู้อะไรมากนักเกี่ยวกับการเต้นรำ ผมสงสัยและถามตัวเองว่า "ทำไมต้องเป็นผมด้วย ทำไม ทำไม?" เพราะตัวผมไม่ได้มีความสัมพันธ์อะไรกับการเต้นรำเลยสักนิด ผมอยากลองทำอะไรใหม่ๆ จึงเข้าร่วมเวิร์คช็อป และเริ่มทำหนังเต้นรำ ผมเดานะ สำหรับตัวผมแล้ว การเต้นรำสามารถนำเสนอสิ่งที่อยู่ข้างในของตัวนักแสดง เราสามารถเห็นจิตวิญญาณของแต่ละคน การเต้นรำไม่ได้แตกต่างไปจากการแสดงเลย ผมคิดว่านักเต้นรำกับนักแสดงนั้นเหมือนกันครับ

InStyle AsIa: ช่วงนี้ คุณสนใจศิลปะการแสดงแนวไหนครับ?

Liao Jiekai: พูดถึงการเต้นรำ ตอนที่ผมกำลังทำวิจัยอยู่นั้น ผมมองหาการแสดงรูปแบบต่างๆ ของญี่ปุ่น อย่างละครคาบูกิ ละครโนห์ ละครตลก "ราคุโก" ผมเป็นคนที่ค่อนข้างเปิดกว้างในทุกศาสตร์การแสดง และสิ่งที่ศิลปินสื่ิอสาร ได้รู้จักละครโนห์ซึ่งเป็นเคสกรณีศึกษาของผม ผมไปเมืองอามามิ เป็นเมืองริมทะเล เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยว มีออนเซ็น ผมได้ชมละครโนห์ริมชายหาดที่นั่น ปกติแล้วละครโนห์จะแสดงกันในโรงละคร แต่ที่นี่เล่นกันริมชายหาด มันดุสวยงามมากๆ เลย ผมรู้ว่ายังมีการแสดงที่ดูแตกต่างอื่นๆ รวมทั้งรูปแบบงานศิลปะที่ดูน่าสนใจอื่นๆ อีกมากมายครับ

InStyle Asia: มีการแสดงทางวัฒนธรรมมากมายในญี่ปุ่น แต่ดูเหมือนไม่ค่อยได้รับความนิยมในหมู่คนหนุ่มสาว น่าดีใจที่ได้ยินว่าคุณชื่นชอบละครโนห์ คุณอาจสร้างหนังเรื่องใหม่ ดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้หันกลับมาสนใจศิลปวัฒนธรรมญี่ปุ่นและละครโนห์ก็เป็นได้

ปัจจุบัน การแสดงเก่าๆ มากมายเริ่มสูญหายไปกับคนรุ่นเก่า หรือลดความนิยมลงไปตามยุคสมัย อย่างงิ้วหรือละครโนห์ คุณมีความเห็นอย่างไรครับ?

Liao Jiekai: ผมคิดว่าที่ประเทศญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นสืบทอดรักษาวัฒนธรรมได้ดีมากๆ เลยครับ ก่อนมาญี่ปุ่น ผมไม่รู้อะไรเกี่ยวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นเลย จนวันหนึ่งผมได้ชมละครคาบูกิในโรงหนัง มันเหมือนกับเรากำลังดูละครคาบูกิที่ถ่ายทอดสดจากโรงละครคาบูกิจริงๆ ผมคิดว่าคนญี่ปุ่นสามารถนำเสนอวัฒนธรรมของตนในรูปแบบที่ดูทันสมัย และส่งผ่านงานศิลปะให้เข้าถึงผู้ชมได้ ผมสนใจวัฒนธรรมในรูปแบบดั้งเดิมมากกว่า มองเห็นความพยายามในการอนุรักษ์ หรือการสร้างความนิยมด้วยการใช้มังกะหรือการ์ตูนดัง ผมคิดว่ามันเป็นไปได้ที่เราจะใช้วัฒนธรรมที่คนส่วนใหญ่ชื่นชอบ มาเปิดโลกศิลปวัฒนธรรมให้เข้าถึงผู้ชมวัยหนุ่มสาวได้

ผู้กำกับเหลียว เจียไค, นักแสดงอาราอิ ฮัน และอีกโกะ ทาดาโน่ บนเวที (photo: InStyle Asia)

InStyle Asia: ฉากไหนที่คุณชอบมากที่สุดในหนังเรื่องนี้?

Liao Jiekai: ฉากจบ มีชายชรากำลังร่ายรำที่ชายหาด เพราะมันเป็นอะไรที่ยากมากในตอนนั้น เนื่องจากเราถ่ายทำฉากนี้หลังพายุไต้ฝุ่นลูกใหญ่เข้า ระหว่างที่เรากำลังเดินทางไปชายหาดนี้ ถนนทางหลวงถูกปิด เราพยายามเข้าไปยังพื้นที่ถ่ายทำ มันยากมากดูราวกับฝันร้ายเลย เมื่อเรามาถึงที่หมาย พายุเพิ่งผ่านไปพอดี เราเห็นแสงสว่างบนท้องฟ้า แสงอาทิตย์ที่เราถ่ายทำในฉากนี้ช่างสวยงามจริงๆ ผมคิดว่ามันเป็นแสงแรกหลังฟ้าเปิด และพายุไต้ฝุ่นได้ผ่านไปพอดีครับ 

InStyle Asia: คุณคาดหวังอะไรจากผู้ชมที่ได้ดูหนังเรื่องนี้?

Liao Jiekai: จริงๆ แล้ว ผมอยากให้มาดูหนังเรื่องนี้ด้วยการเปิดใจให้กว้าง ผมคิดว่ามันแตกต่างจากหนังแนวรักโรแมนติกที่คุ้นเคยกัน ปล่อยให้หนังเล่าเรื่องราวไป ผมสร้างบางสิ่งบางอย่างขึ้นมา และผู้ชมก็เดินเข้ามาดู มันเป็นสิ่งที่คุณต้องค้นหาสิ่งเหล่านั้นเพื่อตัวคุณเองครับ

InStyle Asia: คุณกำลังบอกว่าปล่อยให้ผู้ชมตีความหมายในหนังด้วยตัวเองใช่ไหม?

Liao Jiekai: ใช่ครับ ผมแน่ใจว่าคนแต่ละคนที่ได้ชมหนังล้วนมีความแตกต่างกัน และพวกเขาย่อมตีความมองเห็นภาพที่ปรากฏในหนังแตกต่างกันครับ

InStyle Asia: ตอนนี้ คุณมีแผนทำหนังเรื่องใหม่ หรือโปรเจคถัดไปไหม?

Liao Jiekai: จริงๆ แล้ว ผมมีหนังเรื่องใหม่อีกเรื่องนึงจะเปิดตัวเดือนหน้า เป็นหนังสารคดีเรื่อง Faraway My Shadow Wandered ถ่ายทำกันที่จังหวัดอิชิกาว่า ในประเทศญี่ปุ่น ว่าด้วยเรื่องราวของชายหนุ่มและความสัมพันธ์ของเขากับการสืบทอดงานดูแลศาลเจ้าในครอบครัว ผมใช้เวลาถ่ายทำหนังเรื่องนี้นาน 2 ปีครึ่ง ปลายเดือนนี้ (พฤศจิกายน 2563) ผมจะเปิดตัวหนังเรื่องนี้เป็นครั้งแรกในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติสิงคโปร์ อาทิตย์หน้าผมต้องบินกลับสิงค์โปร์ และต้องกักตัวอีก 2 สัปดาห์

InStyle Asia: หลังจากเปิดตัวหนังเรื่องใหม่นี้ที่สิงคโปร์แล้ว คุณมีแผนนำเข้ามาฉายในญี่ปุ่นไหม?

Liao Jiekaiครับ เราหวังว่าหนังเรื่องนี้จะได้ฉายในญี่ปุ่นนะครับ ผมไม่ได้ส่งหนังเรื่องนี้เข้ามาฉายในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาขาติโตเกียว เพราะว่าเป็นหนังสารคดี หลุดแนวคอนเซปต์ของงานครับ (หัวเราะ) แต่ผมแน่ใจว่ามีงานเทศกาลหนังอื่นๆ อีกที่ญี่ปุ่น ด้วยใจจริง ผมอยากให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ฉายที่ญี่ปุ่นครับ เพราะเราถ่ายทำกันที่ญี่ปุ่น และเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับญี่ปุ่นด้วยครับ

InStyle Asia: ตัวหนังถ่ายทำในประเทศญี่ปุ่นด้วย คงดึงดูดผู้ชมชาวญี่ปุ่นให้มาดูกันเยอะๆ 

Liao Jiekaiเนื้อเรื่องก็เกี่ยวกับญี่ปุ่น และศาลเจ้าชินโตครับ

InStyle Asia: ในอนาคต คุณวางแผนทำหนังเรื่องใหม่ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น สิงคโปร์ หรือคิดทำหนังที่มีเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับญี่ปุ่นไหม?

Liao Jiekai: ผมทราบครับ ผมมีเพื่อนฝูงที่สามารถทำงานกับผมได้ อย่างถ่ายทำครึ่งนึงที่สิงคโปร์ และถ่ายทำอีกครึ่งหนึ่งที่ญี่ปุ่น แต่ผมคิดว่าจะทำงานสร้างหนังต่อที่สิงคโปร์ครับ หลังจากเปิดตัวหนังเรื่องใหม่ในเดือนธันวาคมนี้แล้ว ผมจะเริ่มถ่ายทำหนังสารคดีเรื่องใหม่ที่สิงคโปร์  จริงๆ แล้วผมได้งบเพื่อทำหนังสารคดีเรื่องนี้แล้วด้วยครับ

InStyle Asia: ภาพยนตร์เรื่องถัดไปของคุณเป็นหนังแนวสารคดีนั่นเอง

Liao Jiekaiใช่ครับ เดือนธันวาคมนี้ ผมจะถ่ายทำหนังสารคดีเรื่องใหม่เกี่ยวกับอัตชีวประวัติของคุณ Yeng Pway Ngon นักเขียนชาวจีน และนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงของสิงคโปร์ ผมตั้งใจทำหนังสารคดีเกี่ยวกับท่านครับ

InStyle Asiaขอบคุณมากครับ เราหวังว่าจะได้ชมหนังเรื่องใหม่ของคุณเร็วๆ นี้ครับ

ผู้สัมภาษณ์: ธีรภัทร์เพิ่มประยูร
ภาพ และบทความ: InStyle Asia

ชื่อภาพยนตร์Light of a Burning Moth (ชื่อภาพยนตร์ภาษาญี่ปุ่น蛾の光)
ผู้กำกับฯ และผู้เขียนบทLiao Jiekai (廖捷凯)
กำหนดฉาย: 2020 ภาษาที่ใช้: ภาษาญี่ปุ่น
ความยาว120 นาที
นักแสดงนำ: ฮา ยังมิ (Ha Young-Mi), ฮัน อาราอิ (Han Arai), อักโกะ ทาดาโน่ (Akko Tadano)

©Tokyo University of the Arts, Graduate School of Film and New Media













 







Interview with director Liao Jiekai from the movie "Light of a Burning Moth"

Special Interview with the film director Liao Jiekai from "Light of a Burning Moth"

"... I feel that all the old artist had the wisdom and experience longer than the younger one. But both of them have many things to learn from each other."

Director Liao Jiekai after interview in Tokyo International Film Festival 2020 (Photo: InStyle Asia)

"Light of a Burning Moth" (蛾の光) is one of the films in Tokyo Premier category at Tokyo International Film Festival this year (2020). By the courtesy of TIFF, we got a chance to have special interview with mr. Liao Jiekai, a Singaporean film director from movie "Light of a Burning Moth", to express the struggle of the old and young artists through the performance arts and their inner spirits. This film is made when he was a student at Tokyo University of the Arts graduate school, his first Japanese movie as a filmmaker.

The story of a female dancer who lost her mother and then she stopped speaking by herself but interacting by dancing with an old mime artist.

InStyle Asia: What is your original idea to make this film?

Liao Jiekai: Actually this film begin with a leading actress "Ha Young-mi", do you remember a dancer in first half quarter in the film? She and I knew each other before. I met her, may be 3 or 4 years ago in Hong Kong and journey. We decided that we want to make a film together. Because i have working with dancers from different dance film from Singapore, from Europe, From Hong Kong. So, Young-mi and I wanted to make a film about dance as a theme. And i was really interested in the film that portraits the world of artists. Because I feel that Young-mi looking at them and they're looking at her as a unique performance artist. I always moves by this. I wanted to make a film to show this artist. 

In the same time, i was also inspired by a german book "Rainer Maria Rilke's『Letter to the Young Poet』,telling about a poet named "Rilke" and his young admirer who are also poet and looking at him, responsed him by letters. I'm also interested in this idea, about the artist who communicate each other by their poems. In case of this film, the dance can share the line of artists who communicate each other and we can see their inner wills.

©2020 Tokyo University of the Arts, Graduate School of Film and New Media

InStyle AsIa: Thank you so much. You also knew the actors before making this film?

Liao Jiekai: My artist, mr. Arai Han. After i looked the script, i casted him.

InStyle Asia: Thank you so much. The film also reminded us some famous Asian films' works, like "Goodbye, Dragon Inn" (2003) by Taiwanese director Tsai Ming-liang" or "Farewell to my concubine" (1993) by Chinese director Chen Kai-ge , telling about the traditional topic which is probably gone with the time and the old generations. So "mr.Kawatase", an old artist (starring by Arai Han) in this film is dying together with his stunning abilities and wisdom but in the same time another young artist continue her performance without speaking any words. Because she decided to stop talking by herself. What do you want to tell about the traditional arts between the old generations and young generations?

Liao Jiekai: Talk about the old and young artists' corresponding, i feel that all the old artist had the wisdom and experience longer than the younger one. But both of them have many things to learn from each other. I made this dance film based on a famous book. She recalled her dance when she was young last 30-40 years, it was very interesting because this one dance changes her, transformed her and it is the same dance she performed when she was 20-30 years old, she performed it when she felt something and when she study something she felt another thing. Dancing is like a living thing. When you grew old as a performer, your life changed bigger on the way you performed. i think that what i find its interesting to portray this artist.

Actor Arai Han and Akko Tadano (Photo: InStyle Asia)
©2020 Tokyo University of the Arts, Graduate School of Film and New Media

InStyle Asia: What is your idea behind the story about the beach in Ose where many people died?

Liao Jiekai: i wany to say about the curious relationship. From fear, it can be transformed into something looks curious and somethings you may want to know more about it. If you remember in the film, there is a kind of the dream scene at the beach and he saw the boat. There are big bodies in the boat. It linked to the place to die.

©2020 Tkyo University of the Arts, Graduate School of Film and New Media

InStyle Asia: Why you picked this kind of performance arts (mime dance)?

Liao Jiekai: I think the performance chose me. Last 3-4 years ago, when i started making dance film. It's my first times to be invited to a dance workshop and we worked together with the dancers. This workshop is in Hanoi, Vietnam. At that time, i don't know much about dance. But I'm so curious "why it's me?, Why it's me?" because i didn't have any relationship with the dance. But i want to try something new so i went to the workshop and started to do the dance film. I guess, for me, Dance express what is inside the performer, we can see the soul of each person. It not different from acting. I think actor and dancer is similar, acting and performance is the same.

InStyle AsIa: What kind of performance arts you are interested in recently?

Liao Jiekai: Talk about the dance, when i doing research, i was looking in different forms of performance in Japan like Kabuki, Noh, Rakugo. I was very open in term of what kind of performance and artists says. I got to know about Noh performance which was a case study, i went to Atami, a seaside town and very tourist onsen city, i saw the Noh performance at the beach site, normally we can see Noh dance inside the theater but this one was played on the beach. It was very beautiful. I knew that there are many different performances, also many interesting traditional form of arts.

InStyle Asia: There are many traditional performance in Japan, but less popular among young generations. It's great to hear that you loved Noh performance, so you can make a new film, to attract them the Japanese tradional arts and Noh performance.

Nowadays, many kind of old performance disappearing along with the old generations, or less popular among young people like Chinese Opera or Noh dance, What do you think about this?

Liao Jiekai: I think in Japan they can do very good job in culture. Before i came to Japan, I didn't know about Japanese culture. I saw Kabuki in movie theater. It's like the Kabuki is showing live at the theatre. I think they are presenting in modern way and accesses the audience by arts. I'm interested in more traditional forms of culture, from the efforts they try to preserve it, or some traditional performance is popularizing by manga or comic books. I think there is a possibility to use a popular culture and open up this world to the younger audience.

Director Liao Jiekai, Actor Han Arai and actress Akko Tadano on the stage (photo: InStyle Asia)
©2020 Tokyo University of the Arts, Graduate School of Film and New Media

InStyle Asia: What is your most favourite scene in the film?

Liao Jiekai: The ending scene, there is a man dancing on the beach. Because it was so hard and it was shot after the big typhoon came. When we were on the way to the beach, the highway was blocked. It's like a nightmare during we try to get that location. When we got there, it was like the typhoon just disappeared. And then there were the light, the sunlight we shot that scene is really beautiful, i think, because it just after typhoon.

InStyle Asia: What do you expected the audience after watched the film?

Liao Jiekai: Actually, I want people watch this movie with open mind. I think it's different from  typical romantic film. Just let the film speaking. I created something and audiences came in and it's your job to find something for yourselves.

InStyle Asia: You means let the audience interpreted the story by themselves?

Liao Jiekai:.Yes, I'm sure that each person who watched the film are different and also interpreted in different image.

InStyle Asia: Currently, do you plan to make some next project or movie?

Liao Jiekai: Actually i also have a new film that will be released next month. It's a documentary film titled "Faraway My Shadow Wandered", shot in Ishikawa prefecture, about a young man and the relationship with his family jinja (Shinto shrine). I shot this film for two and half years. At the end of this month (November 2020), we will  premiere this film in Singapore International Film festival, so next week i have to fly back to Singapore and do my quarantine two weeks.

InStyle Asia: After you released this upcoming film in Singapore, you plan to show in Japan?

Liao Jiekai: Yes, hopefully we can show this film in Japan. I didn't sent this film to Tokyo International Film Festival (TIFF) because they don't do about documentary film (laughing), but I'm sure that there are other film festivals in Japan, definitely i want to show this film in Japan because we shot here and it's Japanese story.

InStyle Asia: The filming location is in Japan, so it might attract more Japanese audience.

Liao Jiekai: The story is also about Japanese and Shinto shrine.

InStyle Asia: Do you have the plan to make a film in Southeast Asia's countries or make a new story related to Southeast Asia and Japan in the future?

Liao Jiekai: I knew, i have some friends who can do with me half shot in Singapore and half shot in Japan. But I'm sure that i continue making films in Singapore. After the world premiere my new film in December, i start shooting a new documentary film next month in Singapore, actually i was granted the money by them to do a documentary film.

InStyle Asia: So we're pretty sure that your next film is documentary film.

Liao Jiekai: Yes, this December i will shoot a new documentary film about "Yeng Pway Ngon", a Chinese writer and he is well-known novelist in Singapore. I'll make a documentary film about him.

InStyle Asia: Thank you so much. We are looking forward to watch your new film soon.

Interviewer: Teerapat Permprayoon
Photo/text: InStyle Asia

Movie Title: Light of a Burning Moth (Japanese Title: 蛾の光)
Film director: Liao Jiekai (廖捷凯)
Released date: 2020 Spoken language: Japanese
Length: 120 minutes
Cast: Ha Young-Mi, Han Arai, Akko Tadano



Interview with director “Omoi Sasaki” from a Japanese film "Mr.Suzuki-A Man In God's Country" (鈴木さん)


Special Interview with the film director Omoi Sasaki from "Mr.Suzuki-A Man In God's Country"

"Mr.Suzuki-A Man In God's Country" (鈴木さん) is one of the films in Tokyo Premier category at Tokyo International Film Festival this year (2020). By the courtesy of TIFF, we got a chance to have special interview with mr. Omoi Sasaki, the film director from movie "Mr.Suzuki-A Man In God's Country", to share his ideas in the film, how he casting and also his next projects.




InStyle Asia: Nice to meet you, After watched your film, we are so glad to talk with you here. What is your original idea to make this film?
Omoi Sasaki: As I mentioned in Q&A answer, there are “outsiders” come in. They come in and then they go. And so, that’s what behind the kind of story that has existed for many years ago. Not alians but the outsiders who coming in, that is the basis part of the people who reacted to the outsiders.

Omoi Sasaki on the stage (Photo: InStyle Asia)

InStyle Asia: Thank you very much. There are the differences between the outsiders and insiders in the film, for example, everyone who believed in god and living in the nation have the code (numbers) on the arms, so what you want to tell from this part?
Omoi Sasaki: Because the budget reason we could engrave the numbers, but may be in the future there are country governor who want to control their people and they might put IC chips inside people, to be able to know right where they were, to control them and i wanted to show that part as well how people living under the control society.

Photo: InStyle Asia

InStyle Asia: The budget is limited so it might be better to show the code (numbers). This film also telling about a woman who not marry. She was criticized and she have to go to the war for the nation, that means she may die in the war. But the film not mentioned about the old man who not marry. So, do you want to tell about the human equality between women and men in society?
Omoi Sasaki: It’s true that in the society there’s different form in the equality like you mentioned to the woman in the film, they have to go to war, became a soldier but it seems like father who is figured in the film just accepted that. As it’s a rule in the nation they’ve invented.

Photo: InStyle Asia

InStyle Asia: Talk about the differentiation on the way of thinking, like in this film when someone not respected the god, they may be punished by majority, thinking different against the majority is difficult or not?
Omoi Sasaki: You are correct when you say that, existing as a minority in the majority, you just not match in that kind of society, that’s what i wanted to show.

Photo: InStyle Asia

InStyle Asia: so this is a message you want to share from the film?
Omoi Sasaki: I have no any message per se that i want to tell people but people are looking for some reason to get back their people. It could be any kind of setting they are looking for some reason to do, like showing their frustration and it’s just one example i showed. But i don’t agree on that. I think this is something you can see in society as well. I also thinking about this when I making the script, i wanted to depict the story of a woman who couldn’t have a baby but i thought that it just too sad to use this story so i decided not to do so.

InStyle Asia: Mr.Suzuki chose to live with a woman. He came from somewhere nobody knew and decided to live with that woman and also helped her, later he claimed that he is actually the god, in order to save that woman, is he a real god?  Because his face looks similar to the god’s painting from the opening scene.

Photo: InStyle Asia

Omoi Sasaki: I don’t want to say directly that he is god, it’s up to the audience to portrait him.

InStyle Asia: So it depend on how the audience to interpret him by their own.
Omoi Sasaki: Yes, because each viewers have their own interpretation or their favorite kind of the way they want to interpret the story, so it’s up to them.

InStyle Asia: I see, some may believed that he is god but some may not think so. Mr.Suzuki’s character also reminded us a novel from Albert Camus, a french author and philosopher. Have you ever read his novel? “The Stranger” is one of his famous novel. It looks related to your film topic?
Omoi Sasaki: I don’t know who he is.

InStyle Asia: The novel Stranger reflects the people who keeps their needs in the mind, otherwise they will be different from majority. Mr. Suzuki and the woman showing what they want and claimed their right in the nation, they looks like the strangers.
Omoi Sasaki: There is no direct relation to the novel because i don’t know what “The Stranger” telling about. The story is not relate to that novel.
InStyle Asia: Thank you so much. Talk about the reason to cast the main characters (Mr.Suzuki and the woman), do you have idea or opinion about casting this two characters?
Omoi Sasaki: To put it very roughly they are exactly the type of the characters that i’ve imagined and goes to actor and actress, they are exactly the same that i’ve imagined as this film characters, that was a real reason why i asked them to perform in my film.

InStyle Asia: They are so perfect and acting so well and i believed that she acted like she is a woman in that nation, especially mr.Suzuki, he is acting so great.

InStyle Asia: As you are the director, What do you expected the audience after watched this film?
Omoi Sasaki: i was actually thinking and expecting any particularly reaction, in the sense of gentleness, people who are gentle and kind probably be able to reach to the characters. And people who are lonely, they can understand what the loneliness means, to cover those side of the people who may reach to that feeling.

InStyle Asia: How about the next project or movie, now we already watched “ mr.Suzuki”, how about the next one?
Omoi Sasaki:  I had talked this in the other days and still thinking about the movie concern to the construction, to people so something and get control in an island and the border is closed. it’s what i can say right now. So the people will be get control and government on that island

InStyle Asia: is it easy topic or serious story?
Omoi Sasaki: making it will be very serious but i want people feel relax when they watching it.

InStyle Asia: so when we can see this film?
Omoi Sasaki: (laughing) I don’t know, it not that stage yet.

InStyle Asia: Do you have any plan to make a new plot or new film in abroad such as Southeast Asia, or do you have any future project outside Japan?
Omoi Sasaki: I really want to do that so much, do something abroad. Talking about “myst” in your country, i pretty know about the myth in Japan, it’s very complicated when you think about it. It’s not just one culture but it’s mixture of different tribes, different cultures and so that why i say myth is so complicate and very difficult to understand because there are so many different thinking which are mixed in it. Is there any kind of myth in your country that everyone knew about?

InStyle Asia: Like folklore and folk stories in Southeast Asia?
Omoi Sasaki: Some title, the book or anything?

InStyle Asia: Like in Thailand, people knew Ramakian (Ramayana) which is an ancient literature adopted from India, about the Hindu’s gods.
Omoi Sasaki: The story originated from outside of your country, from India?

InStyle Asia: The story is adopted from abroad but it was rewritten by many local poets and reinterpreted based on each country’s culture, developed into their own national literature, like Thai version, Cambodia version, Indonesian version or Burmese version. But the original story is begun in India.

InStyle Asia: Back to the film mr. Suzuki, What is your most favorite scene in this film?
Omoi Sasaki: The scene they are picking the grass and carrying it, that the scene i like the best

InStyle Asia: There are so many kind of film genres. If you can choose one, what kind of genre you love to make?
Omoi Sasaki: I don’t have any fixation on any genre at all.

InStyle Asia: For example, drama, documentary, fantasy, fiction or non fiction?
Omoi Sasaki: Documentary might be very difficult, may be.

InStyle Asia: Thank you so much to clarify behind-the-scenes story and what you think during making the film, The story is not difficult to understand, very interesting from the first chapter, even we are foreigner but we still can enjoy the story. The plot is so interesting as well. Hope to watch your next work again soon. Thank you very much.

"Mr.Suzuki-A Man In God's Country" (鈴木さん)
Released Date:  2020  Duration: 90 minutes
Spoken language: Japanese
Director and scriptwriter: Omoi Sasaki
Starring: Asako Ito, Norihiko Tsukuda, NaonYasunaga, Daisuke Matsunaga, Ken Nakajima, Mie Kirihara, Akko Tanaka and more.

Text/Photo: InStyle Asia


สัมภาษณ์สุดพิเศษกับผู้กำกับหนัง คุณโอโมอิ ซาซากิ จากเรื่อง Mr.Suzuki-A Man In God's Country

 
บทสัมภาษณ์พิเศษกับผู้กำกับชาวญี่ปุ่น คุณโอโมอิ ซาซากิ (Omoi Sasaki) จากภาพยนตร์เรื่อง Mr.Suzuki-A Man In God's Country

ภาพยนตร์เรื่อง "Mr.Suzuki-A Man In God's Country" (鈴木さん) เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าฉายรอบปฐมทัศน์ในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ โตเกียว ปีนี้ (2020). โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก TIFF เราได้รับเกียรติสัมภาษณ์เป็นการส่วนตัวกับคุณโอโมอิ ซาซากิ ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวญี่ปุ่นจากเรื่อง Mr.Suzuki-A Man In God's Country ร่วมแบ่งปันความคิดเห็นต่างๆ ของเขาในภาพยนตร์ แนวคิดการคัดเลือกนักแสดง รวมทั้งแย้มผลงานเรื่องถัดไปของเขา

ภาพ: InStyle Asia

InStyle Asia: ยินดีที่ได้รู้จักครับ หลังจากได้ชมภาพยนตร์แล้ว เรารู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้มาพูดคุยกันในวันนี้ อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้คุณทำหนังเรื่องนี้ครับ?
โอโมอิ ซาซากิ: อย่างที่ผมได้พูดไปช่วงถามตอบหลังฉายภาพยนตร์ มี "คนนอกกลุ่ม" เข้ามา แล้วพวกเขาก็จากไป ประเด็นนี้เป็นเบื้องหลังเรื่องราวในหนังที่เก็บอยู่ในใจผมมาหลายปี ไม่ใช่คนต่างด้าว ต่างชาติ ต่างภาษา แต่เขาคือ "คนนอกกลุ่ม" ที่เดินเข้ามา เราจะเห็นพื้นฐานทางความคิดของผู้คนที่กระทำต่อ "คนนอกกลุ่ม" ในหนัง

ผู้กำกับโอโมอิ ซาซากิ ช่วงถามตอบบนเวที (ภาพ: InStyle Asia)

InStyle Asia: ขอบคุณครับ ในหนังเราจะเห็นว่ามีความแตกต่างระหว่าง "คนนอกกลุ่ม" กับ "คนในกลุ่ม" อย่างเช่น ผู้คนที่นับถือพระเจ้า และอาศัยอยู่ในชาติเดียวกันต่างถูกสลักหมายเลขรหัสบนแขน คุณต้องการจะสื่อถึงอะไรในประเด็นนี้เหรอครับ?
โอโมอิ ซาซากิด้วยเหตุผลเรื่องงบประมาณ เราจึงสลักรหัสตัวเลขบนแขน แต่บางทีแล้วในอนาคต ผู้มีอำนาจปกครองประเทศที่อยากควบคุมประชาชน อาจฝังไอซีชิพในร่างกายผู้คนก็เป็นได้ เพื่อจะได้รู้ว่าพวกเขาอยู่ที่ไหน สามารถควบคุมได้ ผมอยากนำเสนอจุดนี้ ให้เห็นว่าประชาชนอยู่อาศัยกันได้อย่างไรภายใต้สังคมที่เต็มไปด้วยการควบคุม

ภาพ: InStyle Asia

InStyle Asia: หนังเรื่องนี้ยังกล่าวถึงผู้หญิงคนหนึ่งที่ไม่แต่งงาน เธอถูกวิพากษ์วิจารณ์ และจำต้องออกไปรบเพื่อชาติในสงคราม แน่นอนว่าเธออาจจะตายในสมรภูมิรบก็เป็นได้ แต่ในหนังกลับไม่พูดถึงชายชราที่ไม่แต่งงาน คุณต้องการสื่อถึงความเท่าเทียมกันระหว่างเพศชายและหญิงในสังคมด้วย?
โอโมอิ ซาซากิ: มันเป็นความจริงที่ว่าในสังคมนั้นย่อมมีรูปแบบความเท่าเทียมที่แตกต่างกัน อย่างที่คุณเอ่ยถึงผู้หญิงในหนัง พวกเธอต้องออกไปรบในสงคราม ถูกเกณฑ์ทหาร แต่ดูเหมือนว่าผู้เป็นพ่อในหนังกลับยอมรับสิ่งเหล่านี้ มันเป็นกฏระเบียบในชาติที่พวกเขาสร้างมันขึ้นมา

ภาพ: InStyle Asia

InStyle Asia: พูดถึงความคิดเห็นที่แตกต่างที่ปรากฏในหนัง หากใครสักคนไม่เคารพพระเจ้า พวกเขาอาจถูกลงทัณฑ์โดยมหาชน คนส่วนใหญ่ในชาติ คุณคิดว่า การคิดต่างจากคนส่วนใหญ่ในสังคม ทำให้การดำรงชีวิตเป็นเรื่องยากใช่ไหม?
โอโมอิ ซาซากิ: ถูกอย่างที่คุณพูดมา การดำรงชีวิตในฐานะชนกลุ่มน้อยในหมู่ชนกลุ่มใหญ่ คุณอาจจะไม่เข้ากับสังคมนั้นๆ นั่นคือสิ่งที่ผมอยากนำเสนอ

ภาพ: InStyle Asia

InStyle Asia: นี่คือสารที่คุณอยากสื่อในหนัง?
โอโมอิ ซาซากิ: ผมไม่มีสารใดๆ ที่อยากสื่อถึงผู้คนในหนัง ผู้คนมักมองหาเหตุผลบางอย่างเพื่อเรียกร้องความสนใจจากคนอื่น อาจจัดฉากเพื่อหาเหตุผลที่จะทำอะไรบางอย่าง เช่น แสดงออกถึงความท้อแท้สิ้นหวัง แต่มันเป็นแค่ตัวอย่างเดียวที่ผมนำเสนอ และผมก็ไม่เห็นด้วยกับสิ่งเหล่านี้เลย จริงๆ แล้ว ผมคิดว่ามันเป็นอะไรที่คุณสามารถมองเห็นได้ในสังคมนะ ผมเกิดไอเดียหนึ่งขณะเขียนสคริปต์บทหนัง นั่นคือ ผมอยากเล่าเรื่องราวของผู้หญิงที่ไม่สามารถมีลูกได้ แต่ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องน่าหดหู่หากจะนำเสนอประเด็นนี้ ผมจึงตัดสินใจไม่ทำ
InStyle Asia: คุณซูซูกิ ตัวละครในหนังเลือกอาศัยอยู่กับผู้หญิงคนหนึ่ง ทั้งๆ ที่ตัวเขามาจากที่ไหนก็ไม่มีใครรู้  เขากลับอยากอยู่กับผู้หญิงคนนี้ และช่วยเหลือเธอ ต่อมาเขายังอ้างว่าแท้จริงแล้วตัวเองเป็นพระเจ้า ชวนให้คิดต่อไปว่า หน้าตาของเขาช่างดูละม้ายคล้ายกับภาพเขียนใบหน้ารูปพระเจ้าที่ผู้คนบูชาในตอนเปิดเรื่อง หรือเขาเป็นพระเจ้าจริงๆ?
โอโมอิ ซาซากิ: ผมไม่ต้องการบอกตรงๆ ว่าเขาคือพระเจ้า ปล่อยให้ผู้ชมตีความกันเอาเอง
InStyle Asia: หมายความว่าเขาจะเป็นพระเจ้าหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าผู้ชมจะตีความกันเองหรือครับ
โอโมอิ ซาซากิ: ใช่ เพราะผู้ชมแต่ละคนสามารถตีความได้ด้วยตัวเอง หรือตามความชอบ แล้วแต่ว่าอยากจะเห็นเรื่องราวในหนังเป็นแบบไหน ทั้งหมดแล้วแต่ผู้คนจะตีความกันเอาเอง
InStyle Asia: อย่างนั้นนั่นเอง บางคนอาจเชื่อว่าเขาเป็นพระเจ้า แต่บางคนอาจไม่คิดเช่นนั้น ตัวละครคุณซูซูกิ ยังทำให้เรานึกถึงนวนิยายของ "อัลเบิร์ต คามู" นักเขียน นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส คุณเคยอ่านนวนิยายของเขาไหม? นวนิยายเรื่อง "คนนอก (The Stranger) เป็นหนึ่งในผลงานชิ้นเอกของเขา ฟังดูคล้ายๆ กับเรื่องราวบางส่วนในหนัง

ภาพ: InStyle Asia

อโมอิ ซาซากิ: ผมไม่ทราบว่าอัลเบิร์ต คามูเป็นใคร
InStyle Asia: นวนิยายเรื่อง "คนนอก" หรือ The Stranger สะท้อนภาพผู้คนในสังคมที่เก็บความเป็นตัวตนไว้ในใจ หากแสดงออกมาเขาจะดูแปลกแยกจากคนส่วนใหญ่ ตัวละครคุณซูซูกิและผู้หญิงในหนังแสดงออกในสิ่งที่พวกเขาต้องการ เรียกร้องสิทธิในชาติ พวกเขาทำในสิ่งที่คนอื่นไม่ทำ ดูเหมือนเป็น  "คนนอก" ในสังคม
โอโมอิ ซาซากิ: ไม่มีความเกี่ยวพันใดๆ กับนวนิยายเรื่องนั้น เพราะผมไม่รู้ว่านวนิยายเรื่อง "คนนอก" บอกเล่าถึงเรื่องอะไร
InStyle Asia: ขอบคุณครับ มาพูดถึงเหตุผลในการคัดเลือกตัวนักแสดงนำ (ตัวละครคุณซูซูกิ กับผู้หญิง) คุณมีแนวคิดหรือความเห็นใดๆ เกี่ยวกับการคัดเลือกนักแสดงสำหรับตัวละครทั้งสองนี้?
โอโมอิ ซาซากิ: หากพูดแบบกว้างๆ พวกเขาตรงกับคาแรคเตอร์ที่ผมจินตนาการ จึงติดต่อไปยังตัวนักแสดง พวกเขาเหมือนกับตัวละครที่ผมจินตนาการจริงๆ  นั่นคือเหตุผลหลักที่ว่าทำไมผมถึงขอให้พวกเขามาแสดงในหนังของผม
InStyle Asia: พวกเขาแสดงได้ดีมาก และทำให้ผมในฐานะคนดูเชื่อเลยว่าเธอคือผู้หญิงในชาตินั้นจริงๆ โดยเฉพาะตัวละครคุณซูซูกิ เขาแสดงได้ดีมาก
InStyle Asia: ในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ คุณคาดหวังอะไรจากผู้ชม หลังจากได้ดูหนังเรื่องนี้จบแล้ว
โอโมอิ ซาซากิ: จริงๆ แล้วผมคิดและคาดหวังการตอบรับจากคนดูอย่างยิ่งครับ อย่างความรู้สึกสุภาพอ่อนโยน คนที่ดูสุขุมใจดี อาจจะเข้าถึงตัวละครที่มีท่าทีเช่นนั้น และคนขี้เหงาก็อาจรู้ซึ้งความหมายของความเปล่าเปลี่ยวเดียวดายจากตัวละครในหนัง ครอบคลุมความรู้สึกเหล่านั้นกับคุณดู ทำให้พวกเขารู้สึกอินเมื่อได้ชม
InStyle Asia: พูดถึงโปรเจคหรือหนังใหม่ อยากทราบผลงานเรื่องถัดไปครับ?
โอโมอิ ซาซากิ: ก่อนหน้านี้ผมเคยพูดถึงเรื่องนี้ และยังคงครุ่นคิดที่จะทำหนังเกี่ยวกับการก่อร่างสร้างชาติ ผู้คนกำลังทำบางสิ่ง พวกเขาถูกควบคุมอยู่บนเกาะที่พรมแดนถูกปิดกั้น เป็นสิ่งที่ผมบอกได้ในตอนนี้  ผู้คนถูกควบคุม กับรัฐบาลบนเกาะนั้นๆ
InStyle Asia: เรื่องราวง่ายๆ ดูเพลิน หรือเป็นหนังออกแนวจริงจัง?
โอโมอิ ซาซากิ: การสร้างหนังมันต้องเป็นเรื่องจริงจัง แต่ผมอยากให้ผู้ชมรู้สึกผ่อนคลายเมื่อได้ดูหนัง
InStyle Asia: เมื่อไหร่เราจะได้ชมหนังเรื่องนี้กัน?
โอโมอิ ซาซากิ: (หัวเราะ) ผมไม่รู้ครับ มันยังไปไม่ถึงขั้นนั้น
InStyle Asia: คุณมีแผนทำพล็อตเรื่องใหม่ๆ หรือทำหนังใหม่ในต่างประเทศไหม? เช่น ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือมีโปรเจคทำหนังนอกประเทศญี่ปุ่นในอนาคต?
โอโมอิ ซาซากิ: ผมอยากทำมาก งานเกี่ยวกับต่างประเทศ พูดถึงเรื่องราวลึกลับน่าพิศวงในประเทศของคุณบ้าง ผมรู้เรื่องลึกลับน่าพิศวงในญี่ปุ่น มันช่างซับซ้อน ไม่ใช่แค่วัฒนธรรมเดียว แต่เกิดจากการหลอมรวมกันของชนเผ่าต่างๆ วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน และนั่นคือสิ่งที่ผมอยากบอกว่าทำไมเรื่องลึกลับน่าพิศวงถึงดูซับซ้อน และยากที่จะเข้าใจ เพราะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันมากมายผสมปนเปอยู่ มีเรื่องราวลึกลับน่าพิศวงที่ทุกคนรู้จักในประเทศของคุณไหม?
InStyle Asia: อย่างเช่นตำนาน และเรื่องเล่าขานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Omoi Sasaki: บอกชื่อเรื่อง ชื่อวรรณกรรม หรืออะไรทำนองนั้นได้ไหม?
InStyle Asia: อย่างในประเทศไทย ผู้คนรู้จักรามเกียรติ์ หรือรามายานะ เป็นวรรณกรรมโบราณเต็มไปด้วยเรื่องราวอภินิหาร รับมาจากประเทศอินเดีย มีเรื่องราวเกี่ยวกับเทพเจ้าในศาสนาฮินดู
โอโมอิ ซาซากิ: เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นนอกประเทศของคุณ จากอินเดียหรือ?
InStyle Asia: เรื่องราวรับมาจากต่างประเทศ แต่ถูกนำมาประพันธ์ใหม่ด้วยกวีท้องถิ่นมากมาย และตีความแตกต่างกันไปตามแต่ละวัฒนธรรมในประเทศต่างๆ พัฒนาจนกลายเป็นวรรณคดีประจำชาติ เช่น รามเกียรติ์เวอร์ชั่นไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย พม่า แต่เรื่องราวดั้งเดิมนั้นเกิดขึ้นในประเทศอินเดีย
InStyle Asia: กลับมาพูดถึงหนังเรื่อง mr. Suzuki ฉากไหนที่คุณประทับใจมากที่สุดในหนังเรื่องนี้?
โอโมอิ ซาซากิ: ฉากที่ผู้คนกำลังเก็บหญ้าและแบกหามกัน เป็นฉากที่ผมชอบที่สุด
InStyle Asia: มีหนังแนวต่างๆ มากมาย หากคุณเลือกสักแบบ คุณอยากทำหนังแนวไหน?
โอโมอิ ซาซากิ: ผมไม่ยึดติดกับแนวหนังแบบใดแบบหนึ่งตายตัว
InStyle Asia: อย่างเช่น แนวดราม่า สารคดี แฟนตาซี เรื่องจริง เรื่องแต่ง?
โอโมอิ ซาซากิ: สารคดีน่าจะเป็นอะไรที่ยากมากนะ 
InStyle Asia: ขอบคุณที่ช่วยไขความกระจ่างในหนัง เล่าเบื้องหลังและความคิดต่างๆ ระหว่างทำหนัง เรื่องราวในหนังเข้าใจได้ไม่ยาก มีความน่าสนใจตั้งแต่เปิดตัวในฉากแรกเลย แม้แต่เราที่เป็นคนต่างชาติก็รู้สึกสนุกกับเรื่องราวในหนัง พล็อตเรื่องก็น่าสนใจ หว้งว่าเราจะได้ชมผลงานเรื่องใหม่ของคุณเร็วๆ นี้นะครับ ขอบคุณมากครับ  

ชื่อภาพยนตร์: Mr.Suzuki-A Man In God's Country (ชื่อภาษาญี่ปุ่น: 鈴木さん)
วันฉาย:  2020  ความยาว: 90 นาที
ภาษาที่พูดในภาพยนตร์: ภาษาญี่ปุ่น
ผู้กำกับ, ผู้เขียนบท: โอโมอิ ซาซากิ
นักแสดง: อาซาโกะ อิโตะ, โนริฮิโกั ทสึคุดะ, นาโอะ ยาสุนากะ, ไดสุเกะ มัตสึซากะ, เคน นาคาจิมะ, มิเอะ คิริฮาระ, ฮักโกะ ทาคาโน่ และอีกมากมาย

ข้อความ/ภาพ: InStyle Asia











©2024 inStyle Asia All Rights Reserved.
Designed by Creatopia Space