เหมยเยี่ยนฟาง กับสายฝนเดือนพฤษภาคม



เหมยเยี่ยนฟาง (Anita Mui) เป็นหนึ่งในนักร้องนักแสดงชาวฮ่องกงที่มีชื่อเสียงที่สุด มีผลงานการแสดงจำนวนนับไม่ถ้วน ในปี 1984 เธอได้รับรางวัลนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมจากหนังเรื่อง "Behind the Yellow Line" แสดงคู่กับ เลสลี่ จาง (Leslie Cheung) และอีก 3 ปีต่อมา (1987) เธอยังได้รับรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมในงานประกวดภาพยนตร์ Golden Horse ที่ไต้หวัน และรางวัลช้างทองคำของฮ่องกงจากหนังเรื่อง Rouge (ผู้กำกับ: สแตนลีย์ กวาน)


    (ภาพยนตร์เรื่อง Rouge และเพลง Holding your Beloved one โดย Anita Mui)

ในเดือนธันวาคม ปี 2003 เหมยเยี่ยนฟางได้เสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกในวัยเพียง 40 ปี ด้วยกิจกรรมการกุศลมากมายที่เธอเคยร่วมงาน รวมทั้งการตั้งมูลนิธิของเธอ ชาวฮ่องกงต่างยกย่องให้เธอเป็น "Daughter of Hong Kong" 



"Holding Your Beloved One" (ชื่อจีน: 抱緊眼前人)  เป็นเพลงประกอบละครโทรทัศน์ของ TVB เรื่อง Time Before Time ที่เหมยเยี่ยนฟางได้ขับร้อง ถ่ายทอดเรื่องราวของ "เซี่ยวฟู่หยง" (แสดงโดย Kathy Chow) หญิงสาวผู้รอคอยคนรักที่จากไปในโรงละครเก่าแห่งหนึ่งในฮ่องกง ท่ามกลางกระแสวัฒนธรรมจากตะวันตกหลั่งไหลสู่วิถีชีวิตผู้คนที่นี่หลังตกเป็นอาณานิคม วิญญาณของเธอสิงอยู่ในร่มกระดาษ และจะปรากฏกายในคืนวันที่ฝนตก แม้โรงละครแบบเก่าถูกทำลายเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เช่นเดียวกับ "เซี่ยวฟูหยง" ได้กลับชาติมาเกิดเป็นหญิงสาว และได้พบคนรักอีกครั้งในคืนวันที่ฮองกงกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของจีนในปี 1997
ในค่ำคืนที่ฝนตก หญิงสาวในชุดกี่เผ้า หรือ Cheongsam ออกมารอคอยชายคนรักพร้อมกับร่มคันหนึ่ง และบทเพลงของลูกสาวชาวฮ่องกง หัวใจที่ไม่แปรเปลี่ยน ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของผู้คนและบ้านเมือง แฝงอยู่ในบทเพลง "อ้อมกอดของคนที่รัก" (Holding Your Beloved one) 
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจ เรื่องราวสนุกๆ ได้ทางอินสตราแกรม inStyleAsia

©︎1988 Stanley Kwan, Rouge, Golden Harvest)
©︎Holding Your Beloved one" (抱緊眼前人), written by Anthony Lun, Terry Chan and composed by George Lam with lyricist Pun Yun-loeng (潘源良)
©︎1997 Time Before Time (大鬧廣昌隆), TVB Hong Kong



เด่นกว่าฤดูไหนๆ กับ WEWILL แบรนด์เสื้อผู้ชายจากโตเกียว!


"เสื้อผ้าที่ดึงเสน่ห์อย่างเงียบๆ"
"Clothes to attract quetly"
(WEWILL)

หลังสำเร็จการศึกษาจากสถาบัน Antwerp Royal Academy ในปี 2002 คุณฮิเดทากะ ฟุคุโซโนะ (Hidetaka Fukuzono) เคยดำรงตำแหน่ง Director คร่ำหวอดอยู่เบื้องหลังแบรนด์ต่างๆ มากมาย และยังเป็นเจ้าของแบรนด์ WEWILL แบรนด์เสื้อผ้าผู้ชาย ready-to-wear สัญชาติญี่ปุ่น เปิดตัวครั้งแรกในงานอะมาซอน โตเกียว แฟชั่นวีคเมื่อปีที่ผ่านมา


ล่าสุด WEWILL ได้เปิดตัวคอลเลคชั่นใหม่ AW 2018-2019 ด้วยจุดเด่นในงานออกแบบที่ดูเรียบง่าย และดีเทลซิลโฮเอต ด้วยวัตถุดิบคุณภาพสูง ในธีม "ทรานสเลชั่น (Translation)" ปิดเมมเบอร์ผับใจกลางย่านชิบุยะ เพื่อเปิดตัวงานนี้โดยเฉพาะในคืนวันเสาร์ที่ Contact Tokyo ปิดท้ายงานโตเกียวแฟชั่นวีคฤดูกาลนี้อย่างสวยงาม ในบรรยากาศปาร์ตี้ยามค่ำคืนที่โตเกียว ลองตามไปชมชุดเท่ๆ คอลเลคชั่นล่าสุดกันต่อในเว็บไซต์ http://www.wewill.tokyo/

Photo และข้อความโดย Teeper
โมเดล: Akito Mizutani


ติดตามข่าวสารล่าสุดทางอินสตาแกรม inStyleAsia


ตามรอยขนมญี่ปุ่นโบราณในเกียวโต


ขนมญี่ปุ่นแบบโบราณ หรือ "วากาชิ" (Wagashi) มีประวัติความเป็นมายาวนาน คู่กันกับตำนานการกำเนิดชาเขียวที่รับมาจากประเทศจีนเมื่อพันกว่าปีก็ว่าได้ จากการอ่านค้นคว้า ทำให้ทราบความหมายแฝงของคำว่า "วา (Wa)" เป็นชื่อเรียกประเทศญี่ปุ่น และวัฒนธรรมญี่ปุ่นช่วงที่รับวัฒนธรรมจีนในสมัยราชวงศ์ถัง เรียกว่า "วาโคคุ" (Wakoku หรือดินแดนของชาววา) แต่คงเป็นเรื่องทำใจได้ยากหากกล่าวว่าวัฒนธรรมญี่ปุ่นรับมาจากจีน(เช่นเดียวกับวัฒนธรรมไทยที่รับมาจากอินเดีย-เขมร) คำว่า "วา" ในปัจจุบันจึงหมายถึงวัฒนธรรมแบบญี่ปุ่นโบราณ (ที่พัฒนาต่อยอดจากจีน)



จากภาพวาดสมัยโบราณ ทำให้เห็นว่าประเทศญี่ปุ่นมีพัฒนาการประดิษฐ์ขนมมาช้านานหลายร้อยปี วางขายตามร้านค้า มีพ่อค้าหาบเร่ คิดค้นสูตรการทำขนมในสมัยเอโดะ (Edo) เกิดร้านขนมหวานเฉพาะอย่าง รวมทั้งขนมหวานนานาชนิดจากต่างประเทศที่เริ่มเข้ามาในช่วงศตวรรษที่ 17 โดยมิชชันนารี และพ่อค้าชาวฮอลันดา ได้รับความนิยมแพร่หลายไปจนถึงชนชั้นสูง เช่น ขุนศึกโอดะ โนบุนากะ (Oda Nobunaga) ผู้รวมแผ่นดินญี่ปุ่นโปรดปรานน้ำตาลก้อนหลากสีแบบฝรั่ง ที่มีขื่อว่า Konpeito จากมิชชันนารี่ชาวฮอลันดา กลายเป็นหนึ่งในขนมญี่ปุ่นโบราณที่ยังคงผลิตมาจนถึงปัจจุบัน และต่อยอดมาเป็นลูกอมสารพัดยี่ห้อในปัจจุบัน การทำขนมญี่ปุ่น และธรรมเนียมการทานขนมพื้นเมืองในช่วงเทศกาลยังคงสืบทอด และพัฒนารูปแบบใหม่อยู่ตลอดเวลา



หลังจากทานวาราบิโมจิ (Warabi mochi) แล้วตามด้วยมัทฉะชาเขียวร้อนๆ จากเมืองอูจิ (Uji) ทั่เกียวโต แล้วมองไปยังผู้คนบนท้องถนน ทำให้นึกถึงขนมไทยโบราณ ซึ่งมีประวัติความเป็นมา และความสวยงามเหมือนกัน


ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเกียวโตปัจจุบัน ขนมโบราณเริ่มสูญความนิยม เป็นหนึ่งในความวิตก บ้างก็ประยุกต์กับขนมฝรั่ง บ้างก็ดัดแปลงให้เข้ากับยุคสมัย เป็นเรื่องน่าสนใจหากขนมโบราณสามารถประยุกต์เป็นของทานเล่น เข้ากับวิถีชีวิตประจำวัน

ติดตามข่าวสารข้อมูลล่าสุดได้ที่อินสตาแกรม InStyleAsia

Text/Photo โดย Teeper

เสน่ห์สาวปารีเซียงในแบบ TOKUKO 1er VOL (AW'18-19)


TOKUKO 1er VOL เป็นอีกแบรนด์ในตำนานจากประเทศญี่ปุ่น หลังจากเปิดตัวคอลเลคชั่นฤดูใบไม้ผลิ-ฤดูร้อน ปี 2018 ในธีมชนเผ่าพื้นเมืองแบบแอฟริกาไปเมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมา ล่าสุดเมื่อกลางเดือนมีนาคม ได้เปิดตัวคอลเลคชั่นฤดูใบไม้ผลิ-ฤดูหนาว 2018-2019 ที่งานอะมาซอน โตเกียวแฟชั่นวีค (Amazon Fashion Week) นำเสนอดีเทบที่แฝงไปด้วยเรื่องราวสนุกของชาวนครปารีส TOKUKO ยังคงแฝงลูกเล่นที่เป็นแบบเฉพาะของตัว และเพิ่มกลิ่นอายรีโทร ย้อนยุคกลับไปยังปี 1920-30 ด้วยเครื่องประดับและหมวกสุดคลาสสิค และผ้าลายสีสดใสตามสไตล์ TOKUKO


งานเปิดตัวคอลเลคชั่นใหม่ปีนี้แตกต่างไปจากปีก่อนๆ เพราะเป็นการฉลองแบรนด์ครบรอบปีที่ 30! ก่อนไปชมงานเปิดตัวคอลเลคชั่นล่าสุดนี้ ลองไปทำความรู้จักกับเจ้าของแบรนด์กัน

คุณ Tokuko Maeda ผู้เป็นเจ้าของแบรนด์ TOKUKO 1er VOL หลังจบการศึกษาจากโรงเรียนแฟชั่นชั้นนำของญี่ปุ่น Bunka Fashion College ที่โตเกียว ในปี 1969 เธอเดินไปตามความฝันด้วยการไปเรียนรู้เพิ่มเติมที่ประเทศฝรั่งเศส และได้ทำงานกับกลุ่ม Drothee Bis (ฝรั่งเศส)



ในปี 1975 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยดีไซเนอร์ และได้เซ็นสัญญาเป็นดีไซเนอร์กับ MAX MARA (อิตาลี) ในปี 1983 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าทีมดีไซเนอร์ สำหรับ SPORTMAX



ต่อมาคุณ Maeda ตัดสินใจเปิดตัวแบรนด์ของตัวเอง นั่นคือ TOKUKO 1er VOL ในปี 1989 ที่บ้านเกิด เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

คอลเลคชั่นของเธอล้วนได้รับแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมแบบยุโรป การเล่นสีสัน ผสานกับความโดดเด่นในงานออกแบบสไตล์ญี่ปุ่น เช่นเดียวกับคุณ Takeda Kenzo ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Kenzo ปัจจุบัน เธออาศัยอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ยังคงสร้างสรรค์งานคอลเลคชั่นที่เต็มไปด้วยเรื่องราวสนุกๆ ในงานแฟชั่นวีคที่โตเกียวทุกปี 

ลองไปชมชุดสวยๆ และช้อปออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์
http://www.tokuko1ervol.com/

ข้อความและภาพโดย: #TeerapatTeeper

ตามหาดอกไม้แบบราชวงศ์ถังที่นารา


เมื่อราวพันกว่าปีก่อน ประเทศญี่ปุ่นมีการติดต่อกันทางการฑูต การค้า และรับวัฒนธรรมจากจีน โดยเฉพาะวัฒนธรรมในสมัยราชวงศ์ถัง (Tang Dynasty, 618 - 907) ที่ปรากฏในแทบทุกด้านทั้งงานศิลปะ สถาปัตยกรรม ความเชื่อ และผังเมือง ก่อนที่ญี่ปุ่นจะเริ่มพัฒนาให้เป็นแบบของตัวเองในยุคต่อมา 

นครนารา (Nara) เป็นเมืองหลวงเก่าของญี่ปุ่น หนึ่งในสิ่งน่าสนใจที่พบที่นครหลวงมรดกโลกแห่งนี้ คือ ดอกไม้คาราฮานะ เป็นภาพลายดอกไม้แบบโบราณที่ปรากฎบนชุดผ้าไหมของสตรีชาววังของจีน ต้องตรงกับลายผ้ากิโมโนของญี่ปุ่น ปัจจุบัน ภาพลายดอกไม้นี้ถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีที่หอสมบัติแห่งชาติโชโซอิน (Shosoin) หน่วยงานในสำนักพระราชวังของประเทศญี่ปุ่น 


ดอกบัวนับว่าเป็นหนึ่งในดอกไม้ศักดิ์สิทธิ์ในพระพุทธศาสนา เป็นของมงคลล้ำค่า และยังเป็นหนึ่งในแบบลายอันโดดเด่นที่สตรีชาววังในสมัยนารา นิยมแต้มสีแดงที่กลางหน้าผาก ชาวญี่ปุ่นเรียกดอกไม้นี้ว่า "คาราฮานะ" (Karahana) ซึ่งคำว่า "คารา" หมายถึงของล้ำค่าที่มาจากจีนโบราณ ฉลองพระองค์ของพระจักรพรรดิญี่ปุ่นในปัจจุบันก็คงแบบชุดเครื่องแต่งกายชาววังในสมัยนารา การได้พบความนิยมในลวดลายดอกไม้นี้ที่นารายังทำให้รับรู้ถึงสายใยทางวัฒนธรรมที่ส่งต่อจากเปอร์เซีย ผ่านเส้นทางสายไหม (Silk Road) มาจนถึงญี่ปุ่น เป็นมรดกทางวัฒนธรรมแบบถัง (Tang Style) ที่สูญหายไปจากผืนแผ่นดินใหญ่ แต้ยังคงหลงเหลือให้เห็นที่ญี่ปุ่นในปัจจุบัน หากมีโอกาสได้มาเที่ยวนครนารา ลองเดินไปรอบๆ เมืองเก่า ตามหาดอกไม้นี้ถูกวาดประดับอยู่ที่ใดบ้าง? 

ภาพ: แบบลายดอกคาราฮานะ ร้านมัตสึคิ โกฟุคุ (เมืองยามานาชิ) ประเทศญี่ปุ่น ได้แรงบันดาลใจจากดอกไม้คาราๅฮานะที่โชโซอิน นารา

ติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจจากญี่ปุ่นอีกมากมายทางอินสตาแกรม inStyleAsia

บทความโดย Teeper

©2024 inStyle Asia All Rights Reserved.
Designed by Creatopia Space