Special Interview with Mayu Nakamura, a Japanese film director from "Intimate Stranger"

"Intimate Stranger" (Shinmitsuna ta-nin/新密な他人 in Japanese title), is one of the films in Nippon Cinema Now category, world premiered at 34th Tokyo International Film Festival on November 2021. By courtesy of TIFF, Mayu Nakamura, a film director from her psychological thriller movie "Intimate Stranger", kindly shared us what she thought when she start making this film include the ideas behind the scenes and features the special interview in InStyle Asia.

"Intimate Stranger" depicts the story of a homeless boy (Fūju Kamio), the phone scammer gangster (Shogen) and a single mother (starring by Asuka Kurosawa) who lose her son (Yu Uemura) and attempted to find him. Not only it was premiered during the pandemic, but the impact of the COVID-19 pandemic like the calm ambient, the feeling of lose, loneliness, hope in the darkness from each character also can be seen as well.

Director Mayu Nakamura after the special interview 

Q: We heard your previous work (Among Four of Us, short film) also premiered in Osaka Asian Film Festival on March 2021. This times, we are so happy to watch "Intimate Stranger", your latest work in Tokyo International Film Festival this year. It's really interesting movie. Let me ask you some questions. What is your main reason to make this film?

Mayu Nakamura: One of the main reasons that i make this film is, it's diffecult to find the Japanese films telling about the older female character who plays as a main character. Most of the Japanese films usually like middle age men heroes, highschool boys and girls, 20s or 30s women, it seems there is no place for a middle age woman as the main character. Even if they filmed the women in her 30s, but they're portrayed them as hard working mother or wife character. It seems like there is no place for women who are single or divorced person. I feel like i want to make a film that mature women can enjoy. It's a reason i make this film.

Q: What is the reason you picked up the homeless people in Japan who earning his life like a scammer. Many foreigners may don't know about this side in Japan. What is your idea to show this kind of the story?

Mayu Nakamura: One of the reasons I make this film is, also because i grew up oversea. I spent 15 years in London and New York, i was raised up in western world. So, I came back to Japan over 10 years ago, I was stucked by the idea about mother and son. The mother and son relationship in Japan, may be Asian, mother don't love their son so much, it's very different from mother and daughter relationship. So I only portraits this kind of obsessive love between mother and son. I thought that the scared scam is somehow a kind of symthematic of this love. A con man calling to asking money from grand mother and mother, is unheard tell in the west. I heard this kind of scam also happened in Korea, it's very happening phenomenon. I wanted to portrait this, i imagined what if this boy who loved mother and knowing the mother's love, meet this woman who is a failed mother or wife.

Mayu Nakamura, the film director from "Intimate Stranger", World premiere in Tokyo International Film Festival.

Q:  Homeless society is a kind of subculture or minority which is overlooked in Japan. What do you think about this in your film?

Mayu Nakamura: You means the boy who living in internet cafe? 

Q: Yes, because the scammer group and the homeless people is appearing in the film.

Mayu Nakamura: I think Megumi, the mother is also a homeless. She doesn't have a place to go. She pretending to be married and pretending to have a social position, but her emotion is a kind of nowhere, same goal with the boy. So I want to portrait the people who have no belonging, no place they are belong. They are similar, the woman who is a kind of homeless and the boy who have no family, have nothing. 

Q: Why Megumi (mother), start wearing an marriage ring after she allowed Yuji (homeless boy) stay at her apartment. What is your idea from this scene?

Mayu Nakamura: It's a kind of pretending in her workplace, to upscale herself at the clothing store (her workplace) and pretending like she is married. I discussed with my costume designer. i referred this character to Kei Komuro's mother, princess Mako's mother-in-law. She looks shady. She is a single mother and had self-image like a wealthy modern. I studied Kei Komuro's mother pictures and said to costume designer to find this clothes, like her clothes. This is my ideal person who putting on it to upscale and modernize her real-self. By putting on it to show and modernize as a comfortable wife or mother. I think it's a kind of societal pressure.

Mayu Nakamura posed after the world premiere for her film "Intimate Stranger" in Yuraku-cho, Tokyo

Q: How about the reason you casted the main characters? (The mother, the homeless boy and gangster head)

Mayu Nakamura: For actress Asuka Kurosawa, i have always thought that she is very interesting actress, she is very versatile, have different faces. Sometimes she is so sexy, but  something she looks so scarely, or very common, her expression changes a lot. We don't see this kind of actress in Japan so much, may be like French actress "Isabelle Huppert" or "Juliette Binoche" who is very mercurial and spontaneous transform. I wanted to cast Asuka Kurosawa. She is so excellent in her films like "a Snake of June" (by director Shinya Tsukamoto) last 20 years ago. Lately she plays the role as a good wife and mother. I wanted to cast her and bring back her aspect, different aspect. 

For Fūju Kamio, I found him through casting. Since i making this film, it was under pandemic time, some part of the screening time, you wearing mask which means you have to have very strong eyes. You have to act through your eyes, because we don't see it through your face. Fūju Kamio have very strong fiercing eyes somehow dark, he have this gloomy eyes. He is good looking and it have something about him, so I thought he is kind of interesting. 

Shōgen, actually he is my friend, he is also an interesting actor, he have very shark look so i thought he is very good for this role. 

The feather of Bluebird make him a hope and he also share the hope to other hope even he living in the dark side society.

Q: Although everyone's life look so painful and no any choice to choose but you added some symbol of hope and spiritual meaning by using the bluebird feather or happiness, to encourage their life moving on in their own way, what is your idea about this?

Mayu Nakamura: Oh, the bluebird feather? It's a kind of symbolic piece from a boy plays by Fūju Kamio, he yearning to the happiness in elsewhere, he wants to be anywhere from here, basically he wants to escape the world he living, but he had nowhere to go. And Megumi trapped in this. She living lonely, pretending to be a love mother. The casted idea on the happiness in the bluebird feather is like "Wong Kar-Wai's love desire matter on his earlier films through the characters starring by "Leslie Cheung", a man who living lonely and no place to go.

Q: Do you think the mother who lose her child and a homeless who lose his family, they sharing the same feeling?

Mayu Nakamura: They are finding their rest place and the needs they are lacking and finding each other basically.

Megumi, a single mother who lose her child and living lonely in an old apartment 

Q: What is the story behind the angels painting at the room?

Mayu Nakamura: it's a famous painting called "Pity" by William Blake who is a famous English poet, it's a kind of really bizarre painting, possibly reflected from a scene in Macbeth. But it's not look like that, for me, it looks like mother and somebody taking away her child. I found that image is really haunting and somehow since i grew up in England, i loved watching the artistic works and i liked the images that i saw, i could use that imaginary in the film, symbolise it to what the main character going through, a kind of lose her child, a kind of yearning for the lost person. May be in the old Japanese films like in 60s era, they put the pictures in the film. It's not happened lately. So it's interesting to put the imagery or painting in the film. I think, it's the old style, but it mentioned something about the film.

Megumi (Asuka Kurosawa), a single mother who lose her son and Yuji (Fūju Kamio) , a homeless boy who said he knew where her son is

Q: You compared the characters' feelings with something we see everyday when we are staying at home during the pandemic. For example, the mother's painful is compared to the pressure from the kettle's whistle, the sound of washing machine. You showed many rooms in apartment like bathroom, kitchen, bedroom. What is your reason behind this scenes?

Mayu Nakamura: I imaged this apartment as Megumi's rooms, it's like her body since she living there alone, especially washing machine making a lot of noise, so many things making noise, in the way of a woman who staying and spent time at home, making the rooms like her body, and also portraits a room where she hid the boxes inside. A boy character by Fūju Kamio found something inside there, so I tried to make this small apartment into the film like her body. We have low budget, no computer graphic or anything fancy. I tried to make this small apartment into something interesting, like the closet, the rooms where the characters in or the internet. 

The conversation between Yuji and Megumi at her apartment. Who telling the truth?

Q: How about your most favourite scene in the film?

Mayu Nakamura: i like the Kettle scene. The kettle's shrike always sound terrified. The inner room ambient put it very terrified. When i came back to Japan, i found and thought that the women in Japan always be asked by some questions like "Are you married?", "Do you have kids?". If you don't, they may asked you "Why not?", "What is your problem?". It seems like people think that the women who is getting married, they have kids. They feel like If you are not part of that, there is something wrong with you. It seems like a lot of pressures from exterior. If you want to be accepted in society, you have to fulfill those role, if you are not, you may feel it's a kind of that pressure. Although the time is changing, but we still feel about this. If you are married and you don't have kids, you feel like you are not living like human being, so i think of this kind of the scene and that feeling of pressure. You just feel like it's a feeling of press. I tried to portrait it in the kettle scene.

Q: How about your next project? and What kind of genre you want to make for your next one?

Mayu Nakamura: Actually, I already made a short film  last month, presenting in Osaka Film Festival but because of the COVID, so it's like another COVID film section (laugh), That's my next project.

Yuji and Megumi appointed to meet outside during she finding her missing son

Q: This movie will be showed in Japan (March 2022), you also plan to release in abroad?

Mayu Nakamura: Hopefully, I getting some international film festival for the international distributors to pick up my film, i tried to do that since i grew up oversea and I like to make films as well, hopefully it will showing in the near future.

inStyle Asia: The story is really interesting, the actors also famous, many international fans  wanted to see this film. Currently, Fūju Kamio is also popular in Asia from his roles in manga-based highschool themed series and movies. Thank you so much for sharing us your thoughts and ideas behind the story.

Intimate Stranger is coming in theater (Japan) from 5th March 2022. Update more information about the film on the official website (English): http://www.cine.co.jp/shinmitunatanin/eng/


Interview photo & text; InStyle Asia

©2021 シグロ/Omphalos Pictures


Intimate Stranger

English Title: "Intimate Stranger" (Japanese Title: 新密な他人)

Film Director & Screen writer: Mayu Nakamura/ Camera: Tomohiko Tsuji /Producer: Tetsujiro Yamagami /Distributor: Omphalos Pictures/ Sound: Takuya Kawakami/ Music: Takashi Nigaki/ Editor: Yuji Oshige

Running time: 95 minutes/ Main language: Japanese/ Released date: 5th March 2022 (Japan)

Main cast: Asuka Kurosawa (黒沢あすか), Füju Kamio (神尾楓珠), Shogen (尚玄), Yu Uemura (上村侑)


สัมภาษณ์พิเศษคุณมายู นาคามุระ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Intimate Stranger

ภาพยนตร์เรื่อง Intimate Stranger (Shinmitsuna ta-nin หรือ 新密な他人) เป็นหนึ่งในภาพยนตร์เด่นที่เปิดตัวรอบปฐมทัศน์ในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว ครั้งที่ 34 จัดอยู่ในกลุ่ม Nippon Cinema Now เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา ด้วยความกรุณาจากองค์กรงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว  มายู นาคามูระ (Mayu Nakamura) ผู้กำกับจากหนังแนวเขย่าขวัญเรื่อง Intimate Stranger มาเล่าเบื้องหลังการถ่ายทำ รวมทั้งแนวคิดการถ่ายทอดเรื่องราว และคัดเลือกนักแสดง

หนังเรื่อง Intimate Stranger เล่าเรื่องราวของคนไร้บ้านที่ชื่อ "ยูจิ" (แสดงโดยฟูจุ คามิโอะ), หัวหน้าแก็งค์มอจฉาชีพหลอกเงิน (แสดงโดย Shogen) และคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว (แสดงโดยอาซูกะ คุโรซาว่า) ที่ลูกชายหายสาบสูญไป (แสดงโดยยู อุเอมุระ) เธอพยายามตามหาเขาอยู่ตลอดเวลา หนังเรื่องนี้ไม่ได้มีความโดดเด่นเพียงแค่ได้ฉายในช่วงโควิดเท่านั้น แต่ผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดก็สามารุเห็นได้ เช่น บรรยากาศบ้านเมืองและผู้คนที่ดูวังเวง ความรู้สึกสูญเสีย ว่างเปล่า และหงอยเหงาของตัวละครในเรื่อง

มายู นาคามูระ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Intimate Stranger ขณะให้สัมภาษณ์พิเศษกับ inStyle Asia (ภาพ: InStyle Asia)

Q: เราทราบว่าผลงานเรื่องก่อนหน้า (หนังสั้นเรื่อง Among Four of Us) ของคุณมายูได้ฉายรอบปฐมทัศน์ในงานเทศกาลภาพยนตร์เอเชียที่โอซาก้า หรือ Osaka Asian Film Festival เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา (2564) ครั้งนี้เราดีใจที่ได้ชมภาพยนตร์เรื่อง Intimate Stranger ผลงานเรื่องล่าสุดของคุณที่งานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียวปีนี้ เป็นหนังที่น่าสนใจมากครับ ขออนุญาตถามคำถามแรกครับ อะไรคือเหตุผลสำคัญที่ทำให้คุณทำหนังเรื่องนี้ครับ?

มายู นาคามุระ: หนึ่งในเหตุผลหลักที่ดิฉันทำหนังเรื่องนี้ คือ เป็นเรื่องยากมากที่เราจะได้เห็นหนังญี่ปุ่นที่เล่าเรื่องราวของตัวละครหญิงสูงวัย หรือคุณป้า โดยให้เล่นเป็นตัวละครหลัก เพราะหนังญี่ปุ่นส่วนใหญ่มักมอบบทตัวละครหลักให้กับฮีโร่ผู้ชายวัยกลางคน เด็กมัธยมปลายทั้งชายและหญิง หรือไม่ก็หญิงสาวอายุ 20 ถึง 40 ปี และถึงแม้จะให้ตัวละครหลักเป็นผู้หญิงก็มักแสดงเป็นคุณแม่หรือภรรยาที่ต้องทำงานหนัก ดูเหมือนว่าไม่มีพื้นที่สำหรับผู้หญิงโสดหรือผ่านการหย่าร้าง ดิฉันรู้สึกอยากทำหนังสักเรื่องที่ผู้หญิงวัยผู้ใหญ่สามารถสนุกกับหนังได้ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ดิฉันทำหนังเรื่องนี้ค่ะ

Q: ทำไมคุณถึงเลือกคนไร้บ้าน หรือโฮมเลสชาวญี่ปุ่นที่ประทังชีวิตด้วยการทำงานเป็นนักต้มตุ๋นหรือสแกมเมอร์ครับ? ชาวต่างชาติหลายคนไม่ทราบเกี่ยวกับมุมมืดของญี่ปุ่นด้านนี้เลย อะไรคือเหตุผลที่คุณอยากนำเสนอประเด็นนี้ครับ?

มายู นาคามูระ: เหตุผลหนึ่งที่ดิฉันทำหนังเรื่องนี้ด้วย คือ ดิฉันเติบโตในต่างประเทศ ใช้เวลา 15 ปีในลอนดอน และนิวยอร์ก ดิฉันได้รับการอบรมเลี้ยงดูในโลกตะวันตก พอดิฉันกลับญี่ปุ่นเมื่อสิบกว่าปีก่อน ดิฉันตกหลุ่มกับความคิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกชายในญี่ปุ่น หรือชาวเอเชียก็ว่าได้ แม่ไม่ได้รักลูกชายมากนัก ซึ่งแตกต่างจากความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกสาว ดิฉันเลือกถ่ายทอดความรักที่เต็มไปด้วยความหมกหมุ่น ลืมไม่ลงระหว่างแม่กับลูกชายของเธอ ดิฉันยังคิดว่านักต้มตุ๋นหรือสแกมเมอร์Iที่ดูแสนน่ากลัวนั้นเป็นตัวสร้างจุดสมดุลย์ให้กับความรักแบบนี้ นักต้มตุ๋นโทรเรียกเงินจากคุณย่าและคุณแม่ทางโทรศัพท์ เป็นเรื้องที่ไม่เคยไเ้ยินในโลกตะวันตก แต่ดิฉันได้ยินว่ามันเกิดขึ้นจริงในญี่ปุ่น ในเกาหลี เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆ ทำให้ดิฉันอยากถ่ายทอดประเด็นนี้   ดิฉันยังจินตนาการอีกว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากเด็กผู้ชายคนหนึ่งที่รักแม่มาก รับรู้ความรักของแม่ ได้มาเจอกับผู้หญิงคนหนึ่งที่ล้มเหลวในชีวิตความเป็นแม่คน หรือภรรยาที่ดี

มายู นาคามูระ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Intimate Stranger หลังสัมภาษณ์พิเศษกับ InStyle Asia ที่โตเกียว (ภาพ: InStyle Asia)

Q:  สังคมคนไร้บ้านหรือ "โฮมเลส" เป็นวัฒนธรรมย่อยหนึ่งในสังคมที่ถูกมองข้ามในญี่ปุ่น คุณคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับประเด็นนี้ในหนังเรื่องนี้?

มายู นาคามูระ: คุณหมายถึงเด็กผู้ชายที่ใช้ชีวิตในร้านเน็ตคาเฟ่หรือค่ะ?

Q: ใช่ครับ เพราะแก็งค์นักต้มตุ๋นหรือสแกมเมอร์ กับคนไร้บ้านปรากฏในหนังเรื่องนี้ 

มายู นาคามุระ: ดิฉันคิดว่า "เมกุมิ"ตัวละครคุณแม่ก็เป็นคนไร้บ้านค่ะ จริงๆ แล้ว เธอไม่มีที่ไป เธอแกล้งทำเป็นว่าได้แต่งงาน ทำตัวว่าคนมีสถานะในสังคม แต่ความจริงแล้ว อารมณ์ความรู้สึกของเธอคือไม่มีที่ไป มีเป้าหมายในอนาคตไม่ต่างกับเด็กไร้บ้าน ดิฉันต้องการถ่ายทอดเกี่ยวกับคนที่ไม่มีใครต้องการ ไม่มีพื้นที่ที่พวกเขาได้ครอบครอง ทั้งสองคนนั้นเหมือนกัน ผู้หญิงที่ไร้ที่ไป และเด็กผู้ชายที่ไร้ครอบครัว เป็นคนที่ไม่มีอะไรเลย

Q: ทำไม "เมกุมิ" (คุณแม่) เริ่มสวมแหวนแต่งงานหลังจากปล่อยให้ "ยูจิ" (เด็กไร้บ้าน) เข้ามาอาศัยอยู่ด้วยกันที่อพาร์ทเม้นท์ของเธอ คุณต้องการจะบอกอะไรในฉากนี้หรือครับ?

มายู นาคามูระ: มันเป็นการเสแสร้งแกล้งทำในที่ทำงานของเธอค่ะ เพื่อยกสถานะตัวตนของเธอที่ร้านเสื้อผ้า (สถานที่ทำงานของเธอ) แสร้งทำเป็นว่าเธอแต่งงานแล้ว ดิฉันคุยกับคอสตูมดีไซเนอร์ โดยอ้างอิงตัวละครนี้กับคุณแม่ของเคอิ โคมุโระ แม่บุญธรรมของเจ้าหญิงมาโกะ เธอเป็นคนที่ดูลึกลับ เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว มีภาพลักษณ์เป็นตัวของตัวเอง ดูเป็นผู้หญิงสมัยใหม่มีฐานะดี ดิฉันศึกษาจากภาพถ่ายของคุณแม่คุณเคอิ โคมุโระ และบอกคอสตูมดีไซเนอร์ว่าไปหาชุดแบบนี้มา ให้ดูเหมือนกับชุดที่เธอสวมใส่ เป็นบุคคลในอุดมคติของดิฉันที่สวมชุดที่ดูประหนึ่ง "หัวโขน" เพื่อยกสถานะของตัวเอง และทำให้ตัวเองดูเป็นคนทันสมัยในฐานะคุณแม่และภรรยาที่มีชีวิตง่ายๆ คนหนึ่ง ดิฉันคิดว่ามันเป็นแรงกดดันทางสังคมอีกแบบหนึ่ง

มายู นาคามูระ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Intimate Stranger หลังเปิดตัวภาพยนตร์รอบปฐมทัศน์ที่โตเกียว (ภาพ: InStyle Asia)

Q: ช่วยเล่าเหตุผลที่คุณคัดเลือกตัวนักแสดงนำ? (คุณแม่, เด็กไร้บ้าน และหัวหน้าแก๊งค์นักต้มตุ๋น)

มายู นาคามุระ: สำหรับนักแสดงนำหญิง คุณอาสุกะ คุโรซาว่า (Asuka Kurosawa) ดิฉันคิดเสมอว่าเธอเป็นนักแสดงหญิงที่น่าสนใจมาก เพราะเธอมีความหลากหลาย มีหลายหน้า บางครั้งเธอดูเซ็กซี่มาก บางครั้งที่มีลุ้คที่ดูน่ากล้ว หรือดูธรรมดามากๆ สามารถเปลี่ยนแปลงอารมณ์ความรู้สึกได้ดีมากๆ เราไม่มีนักแสดงแบบนี้มากนักในญี่ปุ่น เช่น นักแสดงชาวฝรั่งเศสอย่างอิซาเบล ฮูเปต์ (Isabelle Huppert) หรือจูเลียต บิโนเช่ (Juliette Binoche) ที่เปลี่ยนคาแรคเตอร์และอารมณ์ได้หลากหลายแบบ และดูเป็นธรรมชาติ ดิฉันเลือกคุณอาสุกะ คุโรซาว่า เธอแสดงได้ดีมากๆ ในภาพยนตร์เรื่อง a Snake of June (โดยผู้กำกับชินยะ ทสึคาโมโตะ) เมื่อ 20 ปีก่อน ผลงานส่วนใหญ่ในปัจจุบัน เธอมักรับบทเป็นภรรยาที่ดี บทคุณแม่ ดิฉันอยากเลือกเธอ เพื่อดึงเอาลุ้คที่เป็นตัวเธอกลับคืนมา เป็นลุ้คที่ดูแตกต่างจากบทบาทการแสดงในผลงานปัจจุบัน

สำหรับ "ฟูจุุ คามิโอะ (Fūju Kamio), ดิฉันพบเขาขณะคัดเลือกนักแสดง ตั้งแต่ที่ดิฉันทำหนังเรื่องนี้ บางฉากที่เราถ่ายทำ คุณต้องสวมหน้ากากอนามัย นั่นหมายความว่าดวงตาของคุณจะต้องมีพลังมากๆ เพราะคุณต้องแสดงผ่านดวงตา เราไม่สามารถแสดงผ่านใบหน้าได้  ฟูจุ คามิโอะมีดวงตามที่คมและดุดัน มาก บางทีดูดาร์กด้วย เขามีดวงตาที่ดูเศร้า มันมีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นกับตัวเขาเอง ดิฉันคิดว่าเขาเป็นนักแสดงที่น่าสนใจค่ะ

สำหรับ "โชเก็น" (Shōgen) จริงๆ แล้วเขาเป็นเพื่อนดิฉันค่ะ เขาเป็นนักแสดงที่ดูน่าสนใจ มีลุ้คเป็นคนเจ้าเล่ห์เพทุบาย ดิฉันเลยคิดว่าเขาเหมาะกับบทนี้ค่ะ

ยูจิ (ฟูจุ คามิโอะ) เด็กไร้บ้านถือขนนกสีฟ้า สัญลักษณ์แห่งความสุขในภาพยนตร์เรื่อง Intimate Stranger

Q: ถึงแม้ชีวิตของตัวละครในเรื่องช่างดูเจ็บปวด ไม่มีทางเลือกมากนัก แต่คุณใส่สัญลักษณ์แห่งความหวัง และจิตวิญญาณด้วยการใช้ "ขนนกสีฟ้า" สื่อถึงความสุข เพื่อเป็นกำลังใจให้ชีวิตดำเนินต่อไปในแบบของตัวเอง คุณต้องการสื่อถึงอะไรหรือครับ?

มายู นาคามุระ: โอ้! ขนนกสีฟ้าใช่ไหม? มันเป็นวัตถุเชิงสัญลักษณ์จากเด็กชายที่แสดงโดยฟูจุ คามิโอะ เขาหวนคิดคำนึงถึงความสุขที่มีอยู่ที่ไหนสักแห่ง เขาต้องการออกจากที่นี่เพื่อไปยังสถานที่แห่งนั้น พูดตรงๆ คือ เขาอยากหนีออกไปจากโลกที่เขาอาศัยอยู่ แต่เขาไม่มีที่ไป และ "เมกุมิ" ได้ตกมาอยู่ในกับดักของเขา เธอใช้ชีวิตอย่างคนเปลี่ยวเหงา แสร้งทำตัวเป็นคุณแม่ที่รักลูก ความคิดตอนที่คัดตัวนักแสดงนำที่สื่อถึงความสุขผ่านขนนกสีฟ้านั้น คล้ายกับแรงปรารถนแห่งความรักของผู้กำกับหว่องกาไว (Wong Kar-Wai) ที่บอกเล่าผ่านตัวละครที่่แสดงโดย "เลสลี่ จาง" (Leslie Cheung) ในผลงานเรื่องแรกๆ ของเขา โดย "เลสลี่ จาง" แสดงเป็นตัวละครที่ใช้ชีวิตเดียวดาย ไร้ที่ไป เป็นอัตลักษณ์ในภาพยนตร์หลายๆ เรื่องของผู้กำกับหว่องกาไว

Q: คุณคิดว่าคุณแม่ที่สูญเสียลูก กับคนไร้บ้านที่สูญเสียครอบครัว พวกเขากำลังแบ่งปันความรู้สึกเดียวกันใช่ไหม?

เมกุมิ (อาสุกะ คุโรซาว่า) แม่เลี้ยงเดี่ยวผู้สูญเสียลูก ใช้ชีวิตเดียวดายในอพาร์ทเม้นท์ของเธอ

มายู นาคามุระ: พวกเขากำลังค้นหาที่พักพิง และความต้องการที่พวกเขาสูญเสียไป จึงออกค้นหาไปด้วยกัน

Q: มีเรื่องราวอะไรที่แฝงอยู่ในภาพวาดนางฟ้าที่ห้องหรือครับ?

มายู นาคามุระ: เป็นภาพวาดที่มีชื่อเสียง มีชื่อเรียกว่า "พิตี้" (Pity) วาดโดย "วิลเลียม เบล็ก" (William Blake) กวีชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง เป็นภาพที่ดูน่ากลัว สะท้อนฉากหนึ่งในนิยายเรื่อง Macbeth แต่มันดูไม่เหมือนนิยายเลย ดิฉันว่ามันดูเหมือนแม่ทีกำลังถูกคนพรากลูกไป ดิฉ้นรู้สึกว่าภาพนี้ดูสยองขวัญนะ ดิฉันเติบโตในอังกฤษ ชอบดูงานศิลปะ และชอบภาพวาดที่ดิฉันได้ชม ดิฉันคิดนำมาใช้ประกอบหนัง เพื่อสื่อถึงเรื่องราวที่ตัวละครหลักกำลังเผชิญ การสูญเสียลูก การคร่ำครวญหวนหาถึงคนที่หายตัวไป เราจะเห็นการใส่ภาพวาดลงในภาพยนตร์ญี่ปุ่นช่วงยุค 60 แต่เราแทบจะไม่เห็นเลยในปัจจุบัน จึงเป็นเรื่องน่าสนใจที่จะใส่ภาพวาดหรือจินตภาพลงไปในหนัง ดิฉันคิดว่ามันเป็นรูปแบบการถ่ายทอดเรื่องราวแบบเก่า แต่มันก็บอกเล่าบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับเรื่องราวในตัวหนังได้

ยูจิ (ฟูจุ คามิโอะ) กับเมกุมิ (อาสุกะ คุโรซาว่า) ในภาพยนตร์เรื่อง Intimate Stranger โดยผู้กำกับมายู นาคามุระ

Q: คุณเปรียบเทียบความรู้สึกของตัวละครในภาพยนตร์กับบางสิ่งที่เราเห็นในชีวิตประจำวันจณะอยู่บ้านช่วงโควิดระบาด ตัวอย่างเช่น ความเจ็บปวดรวดร้าวของคุณแม่ถูกนำไปเปรียบเทียบกับเสียงนกหวีดจากกาน้ำร้อนที่กำลังเดือดปุดๆ เสียงเครื่องซักผ้ากำลังทำงาน และคุณยังเล่าเรื่องผ่านห้องต่างๆ หลายห้อง เช่น ห้องอาบน้ำ ห้องครัว ห้องนอน คุณต้องการนำเสนออะไรในฉากเหล่านี้หรือครับ?

มายู นาคามุระ: ดิฉันจินตนาการให้อพาร์ทเม้นท์แห่งนี้เป็นห้องที่ "เมกุมิ" ใช้ชีวิต เปรียบเหมือนร่างกายของเธอ เพราะเธออยู่ที่นี่ตัวคนเดียว โดยเฉพาะเครื่องซักผ้าที่ส่งเสียงดัง และของหลายสิ่งในห้องก็ส่งเสียงดัง ในแบบที่ผู้หญิงคนหนึ่งใช้ชีวิตอยู่ในบ้าน ดิฉันทำห้องหับต่างๆ ให้เป็นเหมือนกับร่างกายของเธอ เผยห้องลับที่เธอซ่อนกล่องเอาไว้ข้างใน จนตัวละครเด็กผู้ชายที่แสดงโดยฟูจุ คามิโอะมาพบในห้องนั้น เนื่องจากเรามีงบประมาณไม่มากนัก ไม่ใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิก หรือใส่อะไรที่ดูแฟนซีลงไปในหนัง ดิฉันจึงพยายามทำให้อพาร์ทเม้นท์เล็กๆ แห่งนี้ กลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เช่น ตู้เสื้อผ้า ห้องที่ตัวละครเข้ามา หรืออินเตอร์เน็ต

ยูจิ (ฟูจุ คามิโอะ) ขณะสนทนากับเมกุมิ (อาสุกะ คุโรซาว่า) ที่อพาร์ทเม้นท์ของเธอ

Q: ฉากไหนที่คุณรู้สึกประทับใจมากที่สุดครับ?

มายู นาคามุระ: ดิฉันชอบฉากกาน้ำร้อน ไม่ว่าตอนไหนเสียงนกหวีดจากกาน้ำร้อนที่กำลังเดือดฟังแล้วรู้สึกน่ากลัวเสมอ บรรยากาศในห้องทำให้ดูน่ากลัวมากๆ ตอนที่ดิฉันกลับมาอยู่ที่ญี่ปุ่น ดิฉันได้ค้นพบและคิดว่าผู้หญิงที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น มักถูกตั้งคำถามว่า "แต่งงานหรือยัง?", "มีลูกแล้วใช่ไหม?" ถ้าคุณตอบว่าไม่ เขาอาจจะถามต่อไปว่า "ทำไมล่่ะ?", "มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นกับคุณเหรอ?" ดูเหมือนว่าผู้คนมักคิดว่าผู้หญิงที่แต่งงานแล้วต้องมีลูก พวกเขารู้สึกว่าหากคุณไม่ได้อยู่ในกรอบเช่นนั้น ต้องมีความไม่ปกติเกิดขึ้นกับตัวคุณเป็นแน่ มันเป็นแรงกดดันที่มาจากภายนอก ถ้าคุณต้องการเป็นที่ยอมรับในสังคม คุณต้องเติมเต็มบทบาทที่สังคมคาดหวัง ถ้าคุณไม่โอเค คุณจะรับรู้ถึงแรงกดดันนี้ แมว่ายุคสมัยเปลี่ยนไป แต่เรายังคงรู้สึกว่ากรอบความคิดเหล่านี้ยังคงอยู่ ถ้าแต่งงานแล้วไม่มีลูก ก็จะรู้สึกเหมือนไม่ได้ใช้ชีวิตอย่างมนุษย์ปุถุชนคนทั่วไป ทำให้ดิฉันนึกถึงฉากนี้กับความรู้สึกกดดันเหล่านั้น คุณจะรู้สึกราวกับถูกแรงอัด ดิฉันพยายามถ่ายทอดมันในฉากกาน้ำชาเดือดนี้

Q: แล้วผลงานเรื่องถัดไปล่ะครับ เป็นหนังแนวไหนหรือครับ?

มายู นาคามุระ: จริงๆ แล้ว ดิฉันทำหนังสั้นเรื่องนึงเมื่อเดือนก่อน กำหนดฉายที่งานเทศกาลหนังในโอซาก้า เพราะว่ามันเกิดขึ้นในช่วงโควิดระบาด เลยกลายเป็นภาพยนตร์ที่จัดอยู่ในกลุ่มโควิดอีกเรื่อง (หัวเราะ) เป็นโปรเจคเรื่องถัดไปของดิฉันค่ะ

ยูจิ (ฟูจุ คามิโอะ) นัดพบกับเมกุมิ (อาสุกะ คุโรซาว่า) เพื่อแจ้งเบาะแส เกี่ยวกับลูกชายที่หายไปของเธอ

Q: ภาพยนตร์เรื่อง Intimate Stranger กำหนดเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ที่ญี่ปุ่น (มีนาคม 2565) คุณวางแผนฉายหนังเรื่องนี้ในต่างประเทศด้วยไหมครับ?

มายู นาคามุระ: ดิฉันหวังเช่นนั้นค่ะ ดิฉันเข้าร่วมงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเพื่อให้ผู้จัดจำหน่ายชาวต่างชาติได้เลือกภาพยนตร์ของดิฉันไปฉายกัน ดิฉันพยายามทำค่ะ เพราะใช้ชีวิตและเติบโตในต่างประเทศ และชอบทำหนังด้วย หวังว่าหนังเรื่องนี้คงจะได้ฉายในต่างประเทศในอนาคตอันใกล้นี้ค่ะ

inStyle Asia: เรื่องราวของหนังน่าสนใจมาก นักแสดงมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก เชื่อว่าแฟนหนัง-ละครญี่ปุ่นในต่างประเทศรอคอยที่จะได้ชมกัน ปัจจุบัน นักแสดงนำอย่างฟูจุ คามิโอก็เป็นที่รู้จักกันจากผลงานหนังและละครที่สร้างจากมังกะชื่อดัง ขอบคุณมากครับที่ได้แบ่งปันความคิด เบื้องหลังการถ่ายทำ และมุมมองต่างๆ ที่ปรากฏในภาพยนตร์ครับ

ภาพยนตร์เรื่อง Intimate Stranger กำหนดฉายในโรงภาพยนตร์ที่ประเทศญี่ปุ่น วันที่ 5 มีนาคม 2565 อัพเดทข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมทางเว็บไซต์หลักของภาพยนตร์ (ภาษาอังกฤษ): http://www.cine.co.jp/shinmitunatanin/eng/


ภาพถ่ายสัมภาษณ์พิเศษ & บทความ: inStyld Asia

©2021 シグロ/Omphalos Pictures


Intimate Stranger

ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ: "Intimate Stranger" (ชื่อเรื่องภาษาญี่ปุ่น: 新密な他人)

ผู้กำกับภาพยนตร์ & ผู้เขียนบท: มายู นาคามุระ /กล้อง: โทโมฮิโกะ ทสึจิ/ ผู้อำนวยการสร้าง: เท็ตสึจิโระ ยามากามิ/ บริษัทผู้จัดจำหน่าย: Omphalos Pictures/ เสียง: ทาคุยะ คาวาคามิ/ ดนตรี: ทาคาชิ นิกะคิ/ ตัดต่อ: ยูจิ โอชิเกคิ

ความยาว: 95 นาที/ ภาษาหลัก: ภาษาญี่ปุ่น

นักแสดงนำ: อาสุกะ คุโรซาว่า, ฟูจุ คามิโอะ, โชเห็น, ยู อูเอมูระ


Film: Will Tell The World I Love You

What's new in the month of love and lunar new year celebration in Thailand, "Tell the World I Love You" (อยากบอกให้รู้ว่ากูรักมึง), a new Thai film by director Poj Arnon (from "Bangkok Love Story") is currently showing in theaters now. Co-starring by Perth Tanapon (from "Love my chance" the series) who appears on movie for the first times and Bas Suradej (from "2moons the series"), include many popular Thai actors.

Depict the story of "Kheng" (Bas Suradej), a boy from the rural town who came to study in Bangkok and living with Tai (Net Siraphop , his classmate at same age. Kheng had a dream to find his mother in China who he separated by plan to study there. But his life changed when he accidentally helped Bong (Perth Tanapon), a drug delivery boy who was attacked by mafia group. They thought that Kheng conspiring secretly with Bong, to hide the drugs so Kheng have to run away from home. Living with Bong at a hidden place where both of them learning each other and sharing the friendship and love in "Tell the world I love you”.

The new MV "Reason I Don't Come Back" is launched both Thai version sung by actor Perth Tanapon and Chinese version by Bie Thassapak. Check the full version on the official YouTube channel.

バレンタインデーと旧正月の週、数年前に撮影したタイ映画の「Tell the World I Love You 」(僕は世界を伝いたくて君を愛してる) はやっと全国シネマで上映してます。日本にも放送した「ラブ•バイ•チャンス•ザ•シリーズ」の人気な俳優のパース タナポンさんが出演して彼の最初の映画だそうです。「僕が戻しない理由〜いつも変わらなく愛してる」という美しい曲は、中国語もタイ語もYouTubeオフィシャルチャンネルにて公開した。中国で人気なタイ人俳優のビータサパックさんが歌った。ストーリーは、ドラグビジネスのせいで高校生の「ケン」 (バス スラデートさん)がドラッグ販売者の「ボン」 (パース タナポンさん)と突然に出会って親友として愛が始まる話です。

Text: inStyle Asia

©2022 Film Guru, "Tell the World I Love You"

GUCCI named actor Jun Shison as a new global brand ambassador


Jun Shison at Gucci pop-up store in Hankyu Umeda, Osaka last October. Today, GUCCI named him as a new global brand ambassador.


He has been active in various roles as an actor in films, series and theatrical performances, being known by international fans since 2011 from hit film like "The Night Beyond the Tricornered Window" (さんかく窓の外側は夜), Ossan's Love.


He challenged himself as a short film director as well as a voice actor for an animation movie "Bubble". He also loves to wear Gucci label clothes in private life and dressed a Gucci outfit at "GQ Men of the Year 2021" award ceremony last November.


As he liked to share his fashion on social medias and make donation for medical workers during the COVID outbreak. All his activities are resonated with the message "inclusion" which means creating and ensuring a sense of belonging where each individual is valued and treated equitably & "freedom of self-expression" which GUCCI support.


He is the latest and the first Japanese brand ambassador for Gucci label, after "Shin Min-a" & "Lee Jung-jae", two Korean actors from Netflix's hit series "Squid Game" and "Hometown Cha-Cha-Cha" were named on last November. Gucci, a luxury brand from Italy is designed by creative director Alessandro Michele


จุน ชิซอน นักแสดงชื่อดังชาวญี่ปุ่นได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์คนล่าสุดของกุชชี่ วันนี้ นอกจากบทบาทการแสดงทั้งในหนัง ซีรีย์ และละครเวที ที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกอย่างภาพยนตร์เรื่อง "คู่หูสามเหลี่ยมล่าปีศาจ" เขายังท้าทายตัวเองด้วยการผันตัวเป็นผู้กำกับหนังสั้นและนักพากย์หนังอนิเมชั่นเรื่อง Bubble ที่จะฉายในโรงภาพยนตร์ที่ญี่ปุ่นฤดูใบไม้ผลิปีนี้ เขามักแชร์ภาพแฟชั่นที่เขาสวมใส่ทางโซเชียลมีเดีย และยังบริจาคเงินสมทบทุนช่วยเหลือบุคคลากรทางการแพทย์ช่วงโควิดระบาดหนัก กิจกรรมต่างๆ ที่เขาทำล้วนสะท้อนทัศนคติการสร้างอัตลักษณ์ในแบบที่เป็นตัวเอง และเสรีภาพการแสดงออกที่กุชชี่ให้การสนับสนุน

จุน ชิซองนับเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ชาวญี่ปุ่นคนแรกของกุชชี่ และคนล่าสุดต่อจาก Shin Min-a และ Lee Jung-jae นักแสดงชาวเกาหลีจากซีรีส์ Squid Game ที่เข้าประกาศเมื่อพฤษจิกายนที่ผ่านมา ความคืบหน้าล่าสุดจากกุชชี่ ลักชัวรี่แบรนด์จากอิตาลีออกแบบรังสรรค์โดยครีเอทีฟไดเรคเตอร์ Alessandro Michele

Text: inStyle Asia
Image: Gucci

KIDILL AW22-23 COLLECTION

After won the Tokyo Fashion Award in September last year in Rakuten Fashion Week Tokyo,  Tokyo based apparel brand KIDILL by designer Hiroaki Sueyasu officially launched AW 22-23 collection under the theme "Outsider" in Men's Paris Fashion Week on 18th January, inspired by the work of Henry Darger, an American writer, novelist and artist.


หลังได้รับรางวัล Tokyo Fashion Prize เมื่อเดือนกันยายนปีที่ผ่านมาในงานราคุเท็นแฟชั่นวีคโตเกียว แบรนด์ KIDILL จากโตเกียว โดยดีไซเนอร์ฮิโรอากิ สุเอยาสุ ได้เปิดตัวคอลเลกชั่น AW22-23 ในธีม "คนนอก" (Outsider) ในงาน Men's Paris Fashion Week เมื่อวันที่ 18 มกราคมที่ผ่านมา จากแรงบันดาลใจจากผลงานของเฮนรี่ ดาร์เกอร์ นักเขียนและศิลปินชาวอเมริกัน

Image: KIDILL

【Movie Director】 Yusuke Ishida
【Cinematographer】Hideaki Arai, Yu Nakajima, Keisuke Yamazaki, Yuma Maehara, Yuki Hori
【Stylist】Tatsuya Shimada
【Collaboration】Henry Darger, Keizo Kitajima, Dickies, CA4LA, rurumu:, CORBY’S, Malcolm Guerre, DOLLSSAN, Kousuke Shimizu
【International Press】Ritual Projects (Paris)
【Japan Press】Sakas PR (Tokyo)
【Models】Ao Tsujimura, Aoyama Saori, Amy, Azuri (Stanford), Barbara F (Donna), JC (Satoru), Jeff (Number Eight), Junghyun, Kashia, Keito (Image), Kota Akita, Hiei (Wolf), Kovich (Tokyo Rebels), Mads (Exiles), Max (Image), Mamina (Tomorrow Tokyo), Myuuki (Stanford), Rabu (Exiles), Ryunosuke, Siva, Takahashi Hitoshi (Activa), Takeru (Friday), Trai Rico, Tsugumi (Donna), Yamato (Friday)
【Special thanks】 dr.martens Japan












ฮิเดโตชิ นิชิจิมะสัมภาษณ์ผู้กำกับชาวไทย คุณเจ้ย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุลเวที Asia Lounge ที่โตเกียว มิดทาวน์ ฮิบิยะ

เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา "นิชิจิมะ ฮิเดโตชิ" (นิชิจิมะ) นักแสดงชื่อดังชาวญี่ปุ่นจากซีรีย์สุดฮิตเรื่อง What did you eat yesterday รวมทั้งภาพยนตร์เรื่อง Drive My Car โดยผู้กำกับริวสุเกะ ฮามากุจิ สัมภาษณ์คุณเจ้ย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล (อภิชาติพงศ์) ผู้กำกับชาวไทย โดยมีคุณอิชิยามะ โชโซ ผู้อำนวยการจัดโปรแกรมหนังในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียวรับหน้าที่เป็นพิธีกร จัดขึ้นที่โตเกียวมิดทาวน์ ฮิบิยะ ในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียวครั้งที่ 34 สนับสนุนโดยมูลนิธิญี่ปุ่น ภาพยนตร์เรื่อง Memoria ของอภิชาติพงศ์ซึ่งคว้ารางวัล Jury Prize ในงานเทศกาลหนังเมืองคานส์ ครั้งที่ 74 และยังได้รับเลือกให้ฉายรอบปฐมทัศน์ที่ญี่ปุ่นในงานนี้อีกด้วย นำแสดงโดยทิลด้า สวินตัน

อิชิยามะ (พิธีกร): "คุณเคยเจอผู้กำกับอภิชาติพงศ์ในงานเทศกาลหนังเมืองคานส์มาก่อนใช่ไหม?” 

ฮิเดโตชิ:  “ไม่เคยครับ ตอนนั้นผมอยู่ระหว่างถ่ายหนัง ไม่สามารถไปร่วมงานได้ แต่ผมรู้จักคุณเจ้ยมานานกว่า 10 ปีแล้วครับ ตอนที่หนังเรื่องหนึ่งของเขาฉายในงานเทศกาลหนัง TOKYO FILMeX (ที่โตเกียว) จำได้ว่าพวกเราออกไปทานอาหารค่ำกัน และคุณเจ้ยยังบอกผมด้วยว่าเขามีโปรเจคหนังในใจอยู่เรื่องหนึ่งซึ่งอยากให้ผมร่วมงานด้วยครับ” 

อภิชาติพงศ์: "หนังเรื่อง Drive My Car ผมไม่มีโอกาสได้ชมตอนอยู่ที่เมืองคานส์ แต่ได้ดูตอนมาถึงนิวยอร์กวันแรก เป็นหนังที่เข้าถึงตัวตนของผมจริงๆ  ไม่ใช่แค่ระดับความรู้สึก แต่มันเป็นระดับสติปัญญาเลยครับ สำหรับผมแล้ว มันคือหนังเศร้า ดำเนินเรื่องโดยคนที่กำลังประสบมรสุมชีวิต การได้ชมหนังเรื่องนี้ก็เหมือนกำลังมองแจกันที่แตกร้าว ชิ้นส่วนแจกันที่แตกกระจายถูกนำมาประกบเข้ากัน แต่ยังไงมันก็ไม่เหมือนของเดิม หนังพยายามผลักดันให้ตัวละครกลับมาอยู่ด้วยกัน ผมพบว่ามันดำเนินไปพร้อมให้แง่คิดมากๆ ครับ และยังสะท้อนความปวดร้าวที่ซ่อนอยู่ในตัวผมด้วยครับ”

อภิชาติพงศ์: "ผมคิดว่าฮิเดะ (นิชิจิมะ) แสดงได้ดีที่สุดในชีวิตการแสดงของเขาเลยครับ ให้ความรู้สึกสะเทือนใจมากๆ ขอบคุณสำหรับการแสดงครับ” 

ฮิเดโตชิ: "ขอบคุณครับ ภาพยนตร์เรื่อง Drive My Car เป็นหนังที่เต็มไปด้วยความรู้สึก โครงเรื่องดูละเมียดละไม ผมรู้สึกว่ามันเป็นหนังที่ดำเนินไปจนสุดทาง เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ของผู้กำกับฮามากุจิที่ดำเนินไปจนสุดทางจริงๆ ครับ" 

อภิชาติพงศ์: "ผมประทับใจฉากตอนคัดตัวนักแสดงมากครับ นักแสดงต่างส่งสารด้วยภาษาของตัวเอง เหมือนกับชิ้นส่วนความทรงจำ ราวกับเป็นส่วนหนึ่งของนิยาย ผมรู้สึกว่าตัวละครที่คุณฮิเดะ (นิชิจิมะ) แสดงนั้นถูกเก็บตัวเองได้แบบสุดๆ หลังจากภรรยาเสียชีวิต แต่แล้วเขากลับมาเริ่มต้นชีวิตใหม่อีกครั้ง คุณฝึกฝนตัวเองเพื่อให้เข้าถึงตัวละครขณะถ่ายทำ หรือจริงๆ แล้วตัวคุณเองคือตัวละครนั้นอยู่แล้ว?


ฮิเดโตชิ: "ผู้กำกับฮามากุจิทยอยส่งข้อความที่เกี่ยวกับตัวละครนี้ให้ผมปึกใหญ่ แล้วถามผมว่า 'อะไรคือความรู้สึกรัก? แล้วคิดว่าเซ็กส์คืออะไร? ยิงคำถามนับสิบข้อที่เขาอยากให้ผมตอบในฐานะตัวละครตัวนี้ ผมยึดเอาข้อความเกี่ยวกับบทบาทที่ผมแสดง เป็นที่ตั้ง ทำให้ผมพบคำตอบ เราไม่ได้แสดงไปตามบท แต่เราอ่านด้วยเสียงดังๆ อย่างราบเรียบ ไร้อารมณ์ ตามแนวคิดของฌอง เรอนัวร์ (Jean Renoir) กับโรเบิร์ต เบรซซง (Robert Bresson) ซึ่งผู้กำกับหนังทั้งสองท่านนี้ก็ยึดหลักเดียวกันนี้มาใช้ฝึกซ้อมบท ผมพบว่ามันเป็นแรงบันดาลใจอย่างแท้จริง ข้อความี่เกี่ยวกับตัวละครตัวนี้คือรากฐาน เป็นดั่งเสาหลักของผมครับ"

อภิชาติพงศ์: “ใช่ ผมรู้สึกเหมือนกับว่าหนังดำเนินเรื่องไปตามบทในแนวระนาบเดียว แค่ฟังภรรยาท่องบทซ้ำๆ วิธีการที่เธอสามารถใส่ความคิดสร้างสรรค์คือ การมีเซ็กซ์ การบรรลุจุดสุดยอด จากนั้นเรื่องราวมันก็เผยออกมา ผมรู้สึกราวกับว่านั่นคือชีวิตของนักเขียนหรือผู้กำกับหนัง สร้างการเล่าเรื่องด้วยการร้อยเรียงผู้คนหลายชีวิตเข้าด้วยกัน


ฮิเดโตชิ: ทำให้ผมเห็นว่าเรื่องสั้นของมุราคามิ ฮารุกิที่ตัวหนังสร้างอิงนั้นค่อนข้างเป็นอิสระจากพันธนาการทางอารมณ์ ผู้กำกับฮามากุจิและผมได้พูดคุยกันเกี่ยวกับการสร้างบุคลิกตัวละครมากกว่าเรื่องการถ่ายทำหนังเสียอีก เพราะถ้ามันไม่โดน ผู้ชมจะไม่สามารถทนดูตัวละครตัวเดิมได้นานกว่า 2 ชั่วโมงได้เลย ที่ต่อมาได้เปลี่ยนความยาวของหนังเป็น 3 ชั่วโมง" ผมต้องแสดงออกโดยไม่เผยอารมณ์ความรู้สึกออกมา ด้วยการเล่นกับข้อความที่เกี่ยวกับตัวละครที่ได้จากผู้กำกับ มันเป็นการถ่ายทำที่ยากทีเดียวครับ"

ฮิเดโตชิ: "ราวกับว่ามีบางสิ่งบางอย่างในตัวละครที่สะท้อนออกมาด้วยตัวตนของนักแสดงจริงๆ เราถ่ายทำไปตามลำดับ และเนื่องจากสถานการณ์โควิด ทำให้เราต้องพักการถ่ายทำนาน 6 เดือนหลังจากถ่ายช่วงแรก ตอนที่ภรรยาของผมเสียชีวิต ช่วงเวลาที่ต้องเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน มีความหมายกับตัวผมมากกับการที่ต้องแสดงเป็นตัวละครนี้ ท่ามกลางความตายที่เกิดขึ้นทั่วโลกจากการระบาดของโควิด" 


ฮิเดโตชิ: "หนังเรื่อง Memoria เป็นหนังที่เงียบมาก คุณสามารถได้ยินแม้กระทั่งเสียงสั่นไหวของแก้วหู รู้สึกได้ถึงความศักดิ์สิทธิ์ ผมรู้สึกว่าคุณเจ้ยกำลังก้าวไปสู่อีกขั้นหนึ่ง หนังถ่ายทำที่โคลอมเบีย ไม่ใช่เมืองไทย ตอนที่คุณบอกผมเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ก่อนฉาย ผมถามไปและทราบว่ามันมีฉากป่าในหนังด้วย ที่เมืองไทย มีความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในป่า ทำไมคุณตัดสินใจมาถ่ายทำที่โคลอมเบีย และคุณรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับป่าครับ?”

อภิชาติพงศ์: “หลังจากถ่ายทำหนังเรื่อง Cemetery of Splendour เสร็จในปี 2015 มันเป็นช่วงเวลาที่สับสนอลหม่านในเมืองไทยทั้งความขัดแย้งทางสังคมและการเมือง จากรัฐบาลเผด็จการทหาร และบริบทที่ผมใช้ชีวิต ผมไปงานเทศกาลหนังมากมาย ผมรู้สึกเลยว่าผมต้องการปลีกตัวออกมา พูดถึงเรื่องป่า เราคิดถึงป่าอเมซอน นั่นคือจุดหมายของผม แต่ตอนอยู่ที่โคลอมเบีย ผมรู้สึกประทับใจตัวเมืองและชนบทเล็กๆ ที่เป็นป่าเขา ด้วยแนวคิดของผม ผมพยายามลืมประเทศไทย และกลับไปเรียนรู้การทำหนังอีกครั้ง ค้นหาโลเคชั่นภูมิทัศน์ใหม่ๆ นำเสนอผ่านจอภาพยนตร์ แน่นอนว่าผมไม่อาจหนีความวุ่นวายด้วยแนวคิดการมองโลกของผม แต่มันคือการผจญภัยครั้งใหม่ ผมรู้สึกราวกับว่ากำลังสร้างหนังสักเรื่องให้เพื่อนๆ ได้ดู หรือใครบางคนเช่นคุณ และคนที่ติดตามผม กำลังชมผลงานของผม ถึงแม้สถานที่แตกต่างกัน แต่การเดินทางของจิตวิญญาณในตัวผมยังคงเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง”


ฮิเดโตชิ: “คุณกำลังถ่ายทอดความทรงจำและความฝันในอดีต แล้วปล่อยออกมาอย่างเต็มที่ในหนังเรื่อง Memoria โดยเฉพาะความแตกต่างระหว่างการนอนหลับกับความตาย ทำไมคุณมักค้นหาหัวข้อและประเด็นเหล่านี้?” 

อภิชาติพงศ์: “ผมมักคิดถึงความเชื่อมต่อกันระหว่างตัวหนังกับความฝัน ทำไมพวกเรามีความฝัน? ทำไมเราต้องการหนัง? สำหรับผมแล้วมันเป็นเรื่องทางจิตวิทยา เหมือนตอนที่เรานั่งอยู่ในความมืดแล้วมองไปที่วัตถุสักชิ้น การดูหนังทำให้เรารู้สึกเห็นอกเห็นใจ เข้าถึงความคิดของคนอื่น ทำให้คุณเชื่อมตัวเองกับโลกภายนอกและกลายเป็นผู้รอบรู้ในที่สุด เพราะมันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต ผมจึงมักคิดถึงความตาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลายปีที่ผ่านมา ผู้คนที่ใกล้ชิดกับผมได้เสียชีวิต ผมพยายามสร้างหนังราวกับเป็นพินัยกรรมให้สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้  เราพยายามเขียนพินัยกรรมก่อนจะลาจากโลกไป ผมสูญเสียคนใกล้ชิดช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ผมรู้สึกว่าความตายมันใกล้ตัวผมยิ่งกว่าเก่า ผมไม่มีทางเลือกเลยที่จะหวนนึกถึงสิ่งเหล่านี้ครับ"

ฮิเดโตชิ: "ในหนังของคุณ ผมสงสัยเกี่ยวกับตัวละครที่นอนหลับ เมื่อไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยขณะนอนหลับ นั่นหมายความว่าเขาตายแล้วใช่ไหม? ดูเหมือนเขาหมดลมหายใจจริงๆ การนอนหลับกับความตายเป็นฉากที่สร้างความประทับใจได้สุดจริงๆ”

อภิชาติพงศ์: “ตัวละคร "เจสสิก้า" แสดงโดยทิลด้า ถามตอนที่เขาเริ่มกลับมาหายใจอีกครั้งว่า "ความตายเป็นอย่างไรเหรอ? ผมคิดว่าเขากำลังแสดงให้เธอเห็นว่าการเผชิญหน้ากับความตายนั้นเป็นอย่างไร เมื่อผมพูดถึงความตายในบริบทนี้ มันไม่ใช่เรื่องเชิงลบเลย กลับเป็นเรื่องเชิงบวกด้วยซ้ำ เพราะมันทำให้พวกเราตระหนักถึงการใช้ชีวิต เราจะใช้ชีวิตอย่างไรให้คุ้มค่าที่สุด พอเราสร้างหนัง เราสร้างโลกใบใหม่ขึ้นมา ปลุกปั้นตัวละครด้วยจิตวิญญาณและความทรงจำ พอจบโปรเจค ผู้คนที่ร่วมงานกันต่างจากลา การมีชีวิตและความตายในหนังจึงเป็นสิ่งที่ผมรู้สึกปลาบปลื้มสำหรับการทำงานในอาชีพผู้กำกับหนัง"

อภิชาติพงศ์: "ฮิเด (โตชิ) ผมอยากสร้างความฝันให้เป็นจริง ผมเพียรพยายามอยากที่จะทำงานร่วมกันมานานแล้ว กับทิลด้า ผมรู้สึกว่ามันไม่ใช่เรื่องที่จะต้องมาถ่ายทำในไทยหรือที่สก็อตแลนด์ เราต้องการโลเคชั่นประเทศอื่น สถานที่ๆ พวกเราทั้งสองคนถูกมองว่าเป็นคนนอก"

ฮิเดโตชิ: "ผมรู้สึกเหมือนคุณ มันไม่ควรจะเป็นทั้งเมืองไทยหรือญี่ปุ่น คำถามคือแล้วควรจะเป็นที่ไหนล่ะ? เอาจริงๆ นะ คุณเจ้ยเคยเสนอบทให้ผมโปรเจคหนึ่ง ถ่ายทำในทุ่งที่ปกคลุมไปด้วนหิมะ และผมต้องเปลือยกายด้วย"

 อิชิยามะ (พิธีกร): “ผมคุยกับคุณอภิชาติพงศ์ในงานเทศกาลหนังเมืองคานส์ ตอนที่เขานำหนังเรื่อง Tropical Malady มาฉาย เขาบอกว่าบทนั้นไม่มีข้อกำหนดกฏเกณฑ์ใดๆ ใครๆ ก็สามารถเล่นได้ แม้แต่คนญี่ปุ่นสักคนหนึ่ง ผมเลยโชว์ภาพคุณนิชิจิมะให้ดู คุณอภิชาติพงศ์อยากมอบบทนี้ให้เขา ตอนที่คุณอภิชาติพงศ์มาญี่ปุ่น ทั้งสองเลยได้เจอกัน"

ฮิเดโตชิ: "ตัวละครนี้ดูเหมือนมนุษย์ยุคหินเลย คุณคงไม่รู้ ผมอายุ 50 ปีแล้ว จะให้ไปแก้ผ้าในทุ่งหิมะ แบบว่ามันมากไปหน่อยครับ"

อภิชาติพงศ์: "มันเป็นหนังไซไฟนะ และโปรดักชั่นแพงมากด้วย ผมคิดว่าต้องปรับบทตอนจบนิดนึง ผมคิดว่าผมทำได้นะ ผู้ชมพยายามละสายตาจากภาพสเปเชียลเอฟเฟกต์อันแสนอลังการ แล้วหันไปชมคุณนิชิจิมะที่กำลังนอนกลิ้งไปมาบนทุ่งน้ำแข็งแทน แล้วมีจานบินโฉบเข้ามาใกล้ๆ เหนือศีรษะด้วย


อิชิยามะ (พิธีกร) "โควิดส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการสร้างหนัง อย่างภาพยนตร์เรื่อง Drive My Car ยังคงฉายในโรงหนังที่ญี่ปุ่น ทั้งที่เปิดตัวมานานกว่า 2 เดือนแล้ว มันเป็นเรื่องไม่ธรรมดาเลยนะสำหรับหนังอาร์ทเฮาส์ บางทีแล้วที่ผู้คนเปิดรับนั้นอาจเป็นเพราะว่ามันเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับความสูญเสีย พวกเรารู้สึกเข้าถึงมันได้จากสถานการณ์โควิด"

ฮิเดโตชิ: "Drive My Car เป็นเรื่องราวของผู้หญิงคนหนึ่งที่ขับรถพาผมไปส่ง เราทั้งสองคนมีอายุและภูมิหลังแตกต่างกัน แต่บางครั้งพวกเราก็เข้าถึงกันได้ ตัวละครช่วยเยียวยาบาดแผลในใจ และสามารถดำเนินชีวิตไปด้วยกันได้หลังจากพบกันในครั้งนั้น แลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงโควิดระบาด พวกเราทุกคนเริ่มใส่ใจคนอื่นทั้งคนที่สนิทสนม กับคนแปลกหน้า นั่นอาจเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมผู้คนต่างรู้สึกเข้าถึงหนังเรื่องนี้ได้”

ฮิเดโตชิ “มีนักแสดงทั้งชายและหญิงจำนวนมากที่สามารถยืนต่อหน้ากล้องโดยไม่รู้สึกกังวลใดๆ เลย แต่ไม่ใช่ผมครับ ผู้กำกับฮามากุจิมักอยู่ที่กองถ่าย เคอยซัพพอร์ตพวกเรา กับตัวละครสมมุติตัวหนึ่งที่ผมต้องใส่ลมหายใจสร้างชีวิตให้เขา มันเป็นเรื่องยาก เป็นขั้นตอนที่ยาก และทุกคนเข้าถึงมันแตกต่างกันไป"

อภิชาติพงศ์: “สำหรับผม สิ่งสำคัญที่ต้องจับมาประสานเข้ากันให้ได้ในฉาก ไม่ใช่โฟกัสแค่ตัวนักแสดงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราด้วย เพราะทุกอย่างล้วนเป็นตัวแสดงทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นฝูงนก หรืออาคารคอนกรีต ทุกอย่างขยับไปมาไปตามแรงลม  เสียงประกอบ และความเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆในฉาก ผมพยายามถ่ายทำทีละตอนตามลำดับ เพื่อให้นักแสดง ทีมงานและตัวผมเองเข้าถึงห้วงอารมณ์ในหนัง ผมกำกับหนังไม่ใช่ในฐานะตัวผู้กำกับกับตัวนักแสดง แต่เป็นมิตรภาพที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงานต่างหาก โดยเฉพาะกับนักแสดงคนไทย ผมพยายามฝึกซ้อม และสร้างบทที่เขียนขึ้นในใจ ทำงานไปพร้อมกับพวกเขา แต่ตัวละครที่ทิลด้า สวินตันแสดงในหนังเรื่อง Memoria นั้นไม่ใช่ตัวเธอเลย ไม่ใช่แนวของเธอด้วย และเธอก็ไม่ได้เป็นตัวละครนั้นตลอดเวลาด้วย ตอนที่ผมพูดว่า "คัท!" ปุ๊บ เธอก็กลับมาเป็นทิลด้าคนเดิมอีกครั้ง”


ฮิเดโตชิ: "ผมคิดแต่เพียงว่าเราต้องเล่นบทตัวละครตัวอย่างต่อเนื่องตลอดเวลการถ่ายทำโดยไม่ต้องนึกคิดอะไรทั้งนั้น แต่บางครั้ง ผู้คนบอกผมว่า "ผมแค่เล่นเป็นตัวเอง"

อภิชาติพงศ์: "ผมเห็นด้วย ตอนที่คุณอยู่หน้ากล้อง คุณจำเป็นต้องใส่ที่มาของตัวเอง และความทรงจำของคุณเข้าไปในหนัง มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับนักแสดงทุกคน สำหรับทิลด้าก็เช่นกัน ในฉากสุดท้าย เธอขุดลึกลงไปถึงก้นบึ้งที่มาของตัวเธอเอง มันไม่ใช่เพียงแค่การแสดงออกอารมณ์เท่านั้น แต่มันยังแสดงออกทางกายภาพด้วย 

คุณอภิชาติพงศ์คิดสร้างหนังสักเรื่องในญี่ปุ่นไหม? อภิชาติพงศ์: "จะเผยให้รู้กันปีหน้า ยังไม่ชัดเจนว่าจะทำหนังหรืองานแสดงทางศิลปะแนว installation คงต้องรอเวลาและสถานการณ์โควิดจบลงเมื่อไหร่คงรู้กัน

นิชิจิมะกล่าวถึงโปรเจคการแสดงของเขาที่มีชื่อว่า "Fever Room" น่าจะเป็นจุดแวะเยือนถาวรที่โตเกียวดิสนีย์แลนด์" สายตาของคุณเจ้ยถึงกับลุกวาวในบัดดล


ภาพยนตร์เรื่อง Memoria กำหนดฉายทั่วประเทศญี่ปุ่นในเดือนมีนาคม 2565 ขณะที่หนังเรื่อง Drive My Car กำลังฉายในโรงภาพยนตร์ 

แขกรับเชิญ: ผู้กำกับภาพยนตร์ "คุณอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล", นักแสดงชาวญี่ปุ่น "คุณฮิเดโตชิ นิชิจิมะ" / พิธีกร: คุณอิชิยาม่า โชโซ ผู้อำนวยการจัดโปรแกรมหนัง งานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว

Image: inStyle Asia





"The Gifted", a hit Thai series first airing in Japan

If you are in Japan right now, you can watch "The Gifted" (Title in Thai: นักเรียนพลังกิฟต์), a hit Thai series on TELASA (a VOD streaming platform by TV asahi). Moreover, the 1st episode will be promoted and airring on TV Asahi channel in Kanto area for the first times.


A popular Sci-Fi and suspense drama by GMM TV, depicts a student group who have a supernatural abilities at school. The serie was acclaimed positively worldwide and won many awards include "Nanon Korapat", a main cast who was nominated for the Best Actor Award in 24th Asian Television Awards last year at Singapore.

In Japan, "The Gifted" is attracted  by many Japanese fans since it was airing in home country. Bright, a renowned Thai actor from 2gether the series also recommended his fans to watch this drama at "BRIGHT WIN 1st FAN MEETING IN JAPAN" last year. The 1st episode will be aired in Japan (Kanto area) on January 21 (Fri) from 3:00 am〜4:00 am on TV Asahi channel. Don't miss this chance! Also check TELASA if you are not in Kanto area. 




Tokyo Jewelry Best Dresser Awards winner 2022 - รางวัลผู้แต่งกายยอดเยี่ยมประจำปี งานโตเกียวจิวเวลรี่แฟร์ ครั้งที่ 34

Tokyo Jewellery Best Dresser Award winners is one of the biggest events in 33th International Jewellery Tokyo  (IJT), held at Tokyo Big Sight on January 2022.. Considered as the largest jewelry fair in Japan, gathered both domestic and oversea traders from many countries and it's a great opportunity to get the inspirational ideas and jewelry business trends in Japan by renowned key persons from the jewellery industry twice a year (Spring and Autumn) and if you interested in Jewelry design, Japan Jewellery Association also presents the Jewelry Design Awards and the creative artworks from the winners each year.

Represents the trends and people interest in Japan's jewelry industries, the awards ceremony is for  those who stood out the most in year 2021 by selected from "people who are the most shining", "people who look best in jewelry" and "people who want to wear more jewelry in the future", catagorized by generations and male group. Moreover, Mika Ahn is announced as "Jewelry Coordinator (JC) Ambassador" by Japan Jewellery Association for the first times. Follow us to see who are the winners this year!

(1) Mana Ashida (17) represents the 10s jewelry wearers - This times she looks so beautiful in an Agoya pearl necklace Prima pearls

Mana Ashida wears the Agoya pearl necklace at the award ceremony in Tokyo

(2) Alice Hirose (27) represents the 20s jewelry wearers - Alice wears the red party dress with dazzling "Nana-tsu-boshi" K18YG Diamonds 1 carat pendant necklace.

"Nana-tsu-boshi" (七つ星) or 7 stars, is a group of seven brilliant stars in the "Big Dipper". It's said that people called the stars by this name since Heian period or last thousand years ago, became one of the auspicious symbols in Asia.

Alice Hirose after received the Best Dresser Prize represents the 30s jewelry wearers (photo: InStyle Asia)

(3) Nozomi Sasaki (34) represents the 30s jewelry wearers - The 18 Pink Gold Diamonds necklace is paring with her stylish look, like many working women who successfully stepped to be a manager in her 30s.

Nozomi Sasaki stuns on the stage, represents the 40s jewelry wearers.(image: inStyle Asia)

(4) Mika Ahn (49) represents the 40s jewelry wearers -  Mika matches her pink color nails with a purple gold shell pendant with Sakura petals motif and two tone colors party dress.

Mika Ahn won the Tokyo Jewelry Best Dresser Award 2022, represents 50s jewelry wearers. (Image: InStyle Asia) 

(5) Miki Maya (58) represents the 50s jewelry wearers - She looks elegant in her ring (Pt950 Yellow diamond ring) and pendant (Pt900/Pt850 Yellow Diamond pendant) on a blue dress.

Miki Maya, the former Takarazuka Revue actress won the Tokyo Jewelry Best Dresser Award this year (image: InStyle Asia)

(6) Yoshiko Miyazaki (61) represents the 60s jewelry wearers - Her black opal necklace sparkling elegantly and also added her aura on each step.

Yoshiko Miyazaki in Tokyo Jewelry Fair 

(7) Takumi Kitamura (24)  represents male jewelry wearers - He  put the"HYBRID THEORY -infinity-" pendant made of K18 gold/K18 White Gold with diamonds.

In Japan, The Japan made gold is called K18 but the other Asia's countries include China and Thailand is called 18K like White Gold and Platinum.

Takumi Kitamura, a Japanese actor and a singer in JPOP group dazzled in a suit with stylish pendant in award ceremony (image: InStyle Asia)

(8) Jun Mizutani (32) former national table tennis player and the youngest Japanese national athlete (17 years old), special prize - he wears COMMODERE pendants necklace during receiving the prize.

Jun Mizutani, a retired national athlete in a black suit with a stylish pendent at 34th International Jewellery Tokyo  

Tokyo Jewellery Best Dresser Awards 2022
Venue: Tokyo Bigsight /Date: 13 January 2022
Official website: https://www.ijt.jp/en-gb.html
(Photo/ text: inStyle Asia)

รางวัลผู้แต่งกายยอดเยี่ยมประจำปี งานโตเกียวจิวเวลรี่แฟร์ ครั้งที่ 34 


งานโตเกียวจิวเวลรี่แฟร์ งานแสดงอัญมณีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่นได้ปิดฉากลงเป็นที่เรียบร้อย แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดยังคงไม่มีท่าทีว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อไร แต่งานใหญ่ๆ หลายงานยังคงดำเนินต่อไปท่ามกลางมาตรการเว้นระยะห่างอันเข้มงวด

บางคนอาจไม่ทราบว่าประเทศญี่ปุ่นก็มีงานจิวเวลรี่ใหญ่ระดับประเทศ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ Tokyo Big Sight ปีละ 2 ครั้ง (เดือนมกราคมประจำฤดูใบไม้ผลิ และอีกครั้งในฤดูใบไม้ร่วง) เป็นงานที่รวมผู้ค้าและ buyer ทั้งจากในประเทศญี่ปุ่น และประเทศเพื่อนบ้าน อย่างจีนและอินเดียที่ขนเครื่องประดับเด่นจากแหล่งผลิตต่างๆ มาวางจำหน่าย รวมทั้งการขายแบบไลฟ์สตรีมที่กำลังเป็นที่นิยมในจน ช่วงโควิดระบาด สินค้าไฮไลท์นอกจากอัญมณีแล้ว สินค้าเครื่องประดัยแบรนด์เนมมือสอง และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่่บริษัทญี่ปุ่นต่างคิดคก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน

ภายในงานผู้ค้าวางจำหน่ายเครื่องประดับของตนในราคาทุน หรือต่ำกว่าทุนพร้อมกับแนะนำร้านค้าหรือแบรนด์ของตัวเองไปในตัว เพื่อค้นหาพันธมิตรทางการค้าหรือดูลู่ทางวางแผนการทำตลาดในญี่ปุ่น เช่นเดียวกับงานบางกอกเจมส์แอนด์จิวเวลรี่ที่บ้านเรา 

เรามีภาพสวยๆ จากนักแสดงชั้นนำบนเวทีรางวัลผู้สวมใส่จิวเวลรี่และแต่งกายดีเด่นที่สุดในญี่ปุ่น โดยโวตจากผู้ค้าอัญมณีทั่วประเทศ และสมาคมผู้ค้าอัญมณีแห่งประเทศญี่ปุ่นที่เห็นว่าบุคคลนั้น และข่าวสารงานโตเกียวจิวเวลรี่แฟร์มาฝาก พิธีมอบรางวัลสำหรับบุคคลที่ดูโดดเด่นที่สุดในรอบปีที่ผ่านมา จาก "คนที่ดูมีออร่าประกายเจิดจรัสที่สุด", "คนที่ดูสง่าที่สุดเมื่อสวมจิวเวลรี่" และ "คนที่อยากสวมจิวเวลรี่มากขึ้นในอนาคต" โดยแบ่งรางวัลตามช่วงอายุ และกลุ่มผู้ชายรางวัลนี้ยังทำให้เราได้เห็นเทรนด์ตลาดญี่ปุ่น และสิ่งที่ชาวญี่ปุ่นให้ความสนใจเป็นพิเศษในวงการอุตสาหกรรมเครื่องประดับและจิวเวลรี่ของญี่ปุ่น นอกจากนี้ "มิกะ อัน" นางแบบ และเซเลบริตี้ชื่อดังโดดเด่นด้วยชุดราตรีสีขาว ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น "จิวเวลรี่คอร์ดิเนเตอร์ (เจซี) แอมบาสเดอร์" เป็นคนแรก โดยสมาคมอัญมณีแห่งประเทศญี่ปุ่นในงานนี้ด้วย แบ่งรางวัลตามช่วงอายุ ระหว่างอายุ 10 - 70 ปี ทั้งหญิงและชายจากผู้มีชื่อเสียงในวงการบันเทิงและกีฬา ผู้ชนะเลิศประจำปีนี้ ได้แก่

(1) มานะ อาชิดะ (Mana Ashida) อายุ 17 ปี ตัวแทนเด็กสาววัยแรกรุ่น อายุช่วง 10-19 ปี 
(2) อลิซ ฮิโรเสะ (Alice Hirose) อายุ 27 ปี ตัวแทนหญิงสาวช่วงอายุ 20-29 ปี
(3) โนโซมิ ซาซากิ (Erika Toda) อายุ 32 ปี ตัวแทนหญิงสาวช่วงอายุ 30-39 ปี
(4) มิกะ อัน (Mika Ahn) อายุ 49 ปี เซเลบริตี้และพิธีกรรายการทีวีชื่อดัง ตัวแทนผู้หญิงช่วงอายุ 40-49 ปี
(5) มิกิ มายะ (Miki Maya) อายุ 58 ปี อดีตนักแสดงอันดับหนึ่งของละคนเวที Takarazuka Revue ตัวแทนผู้หญิงช่วงอายุ 50-59 ปี
(6) โยชิโกะ มิยาซากิ (Yoshiko Miyazaki) อายุ 61 ปี นักแสดงชื่อดัง ตัวแทนผู้หญิงช่วงอายุ 60-69 ปี
(7) ทาคุมิ คิตะมุระ (Takumi Kitamura) นักแสดงและนักร้องชื่อดัง อายุ 24 ปี  ตัวแทนผู้สวมใส่จิวเวลรี่ผู้ชาย
(8) จุน มิสึทานิ (Jun Mizutani) อดีตนักกีฬาปิงปองทีมชาติที่มีอายุน้อยที่สุดของญี่ปุ่น รางวัลพิเศษ อายุ 32 ปี (ชาย)

หากคุณชื่นชอบนักแสดงคนไหน ไปชมต่อกันบนอินสตาแกรมและเฟซบุ๊กของเราได้ที่นี่ที่เดียว เราได้รับเกียรติร่วมถ่ายทอดบรรยากาศภายในงานนี้ อย่าพลาดติดตามอัพเดทข่าวสารบันเทิง แฟชั่น ไลฟ์สไตล์ การท่องเที่ยวล่าสุดจากประเทศญี่ปุ่นทางอินสตาแกรม InStyle Asia กัน ติดตามข่าวล่าสุดแบบเรียลไทม์และภาพสวยๆ ได้ทางอินสตาแกรม InStyle Asia
 
ชื่องาน: งานประกาศผลรางวัลนักแสดงผู้แต่งกายยอดเยี่ยมประจำปี หรือ Tokyo Jewellery Best Dresser Awards 2022
สถานที่: โตเกียว บิ๊กไซต์/ วันที่ 13 มกราคม 2565
เว็บไซต์ทางการ: https://www.ijt.jp/en-gb.html
(Image/text: inStyle Asia)
©2024 inStyle Asia All Rights Reserved.
Designed by Creatopia Space